บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
ปัจจุปันการใช้ภาษาอังกฤษได้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในทุกส่วนของโ,ลก
การแปลเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นงานที่ต้องมีความละเอียด
รอบคอบ มีการศึกษาวิเคาระห์ข้อมูลในการเทียบความหมาย
การตีความต่างๆให้ตรงกับเจ้าของภาษา
ดังนั้นนักแปลจึงต้องมีความเพียรพยายามในการฝึกฝน
จนเกิดความชำนาญทั้งทางด้านประสบการณ์และความรู้ในด้านต่างๆ ซึ่งเราสามารถยึดการแปลเป็นอาชีพได้
การแปลในประเทศไทย
การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สั่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก มีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก ซึ่งการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทยมากขึ้น ตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และมีความเจริญทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา นอกจากนี้การแปลจะช่วยให้ลดความไม่เข้าใจกันนเนื่องจากมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน และสร้างความเข้าใจระหว่างนานาชาติ ทำให้เกิดสันติภาพในโลก เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างประเทศ ระหว่างประชาชน และระหว่างสังคม
สั่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก มีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก ซึ่งการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทยมากขึ้น ตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และมีความเจริญทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา นอกจากนี้การแปลจะช่วยให้ลดความไม่เข้าใจกันนเนื่องจากมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน และสร้างความเข้าใจระหว่างนานาชาติ ทำให้เกิดสันติภาพในโลก เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างประเทศ ระหว่างประชาชน และระหว่างสังคม
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้แปลงานวิชาการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและจะต้องมีนักภาษาอีกด้วย
เพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ การแปลมีปัญหาเนื่องจากขาดความรู้เรื่องพื้นบานทางวัฒนธรรม
ผู้แปลจะต้องติดตางในเรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มาก
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัยเป็นการสอนแปล
ที่ผู้เรียนต้องรู้เรื่องของไวยากรณ์ โครงสร้างของภาษาและการใช้ภาษาและการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ
เนื่องจากผู้เรียนขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้
และผู้ที่จะแปลได้ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอย่างดี
โดยได้รับการฝึกฝนในเรื่องไวยากรณ์และโครงสร้างภาษาอังกฤษอย่างแท้จริง
การแปลคืออะไร
การแปล
คือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปสู่ภาษาหนึ่งโดยมีใจความครบสมบูรณ์ตรงตรมต้นฉบับทุกประการ
โดยไม่มีการตัดแต่งหรือต่อเติมที่ไม่จำเป็นใดๆทั้งสิ้น
คุณสมบัติของผู้แปล
1.
เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2.
สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
3.
เป็นผู้มีศิลปะในการใช้ภาษา
มีความเข้าใจในความสวยงามของภาษา
4.
เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดีหรือภาษาศาสตร์
5.
ผู้แปลต้องเป็นผู้รอบรู้
รักเรียน รักอ่านและรักการค้นคว้าวิจัย
6.
ผู้แปลต้องมีความอดทนและเสียสละ
จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปล คือ สอนฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพแก่สังคม รู้ซึ้งในเรื่องภาษา
รักการอ่าน มีความอดทนและมีความรับผิดชอบ และรู้จักการใช้ความคิดของตนเอง
นักแปลที่มีคุณภาพ
คือนักแปลที่มีความสามารถถ่ายทอดความคิดของต้นฉบับได้อย่างครบถ้วนไม่ขาดไม่เกิน
วัตถุประสงค์ของการแปล
1.
การฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
2.
ผู้แปลจะต้องอ่านเข้าใจ
สามารถจับใจความได้และสามารถถ่ายทอดความรู้นั้นๆออกมาเป็นตัวอักษรได้
3.
ผู้สอนแปลจะต้องเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง
4.
ผู้เรียนแปลได้พบปะกับนักแปลมืออาชีพหรือผู้ให้บริการการแปลแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เพื่อเตรียมตัวก่อนที่จะไปประกอบอาชีพ
บทบาทของการแปล
ในการสื่อสารจะมีผู้แปลเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ซึ่งในการส่งสารแบบนี้จะต้อพบกับความแตกต่างทั้งในด้านประสบการใช้ภาษา ความรู้
อาชีพ สังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการแปล
ลักษณะของงานแปลที่ดี
งานแปลที่ดีต้องมีเนื้อหาหรือข้อเท็จจริงชัดเจน
ถูกต้องตามต้นฉบับ ใช้ภาษาที่ถูกต้อง กระชับความ ใช้รูปประโยคสั้นๆ แ
สดงความคิดเห็นไว้อย่างแจ่มแจ้ง ใช้ภาษาเปรียบเทียบได้อย่างเหมาะสม และรักษาแบบหรือสไตล์การเขียนตามต้นฉบับไว้
และมีการปรับแต่งสำนวนเพื่อให้เข้ากับสภาพสังคม เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1.
ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลนั้น
ต้องเป็นธรรมชาติ ไม่ติดสำนวนฝรั่ง ปรับให้เป็นสำนวนไทยตามที่ใช้กันทั่วไป
2.
สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้
เน้นความชัดเจนของภาษาเป็นสำคัญ
3.
ใช้การแปลแบบตีความ
แปลแบบเก็บความเรียงแล้วเขียนใหม่ ไม่แปลแบบคำต่อคำ
สรุปคุณสมบัติของผู้แปล
1.
เป็นผู้มีความรู้ในภาษาต้นฉบับและภาษาแปลอย่างดีและหมั่นค้นคว้าหาความรู้อยู่สม่ำเสมอ
2.
เป็นผู้ที่ชื่นชอบวิชาความรู้ในแขนงต่างๆ
นอกเหนือจากด้านภาษาในการแปล
3.
เป็นผู้มีวิจารณญาณในการแปล
มีพื้นฐานทางด้านไวยากรณ์ โครงสร้างของภาษา และการใช้ภาษา
4.
เป็นผู้มีใจกว้างพอที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ไม่ควรยึดเอาว่าสิ่งที่ตนแปลนั้นดีที่สุด
5.
เป็นผู้มีความสามารถอุทิศเวลาให้กับการแปลได้อย่างแท้จริง
เพราะจะต้องผลิตผลงานที่แปละเทียบควาถูกต้องตรงกันของคำจากต้นฉบับได้
การให้ความหมายของการแปล
การส่งสารโดยวิธีการแปลเป็นภาษาแม่ของตน
การให้ความหมายมี ๒ ประการ คือ การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายเดียวกันและการตีความหมายจากปริบทของข้อความต่างๆ
อาจดูจากสิ่งของ หรือการกระทำต่างๆ
การแปลอังกฤษเป็นไทยต้องคำนึงถึงความหมาย
4 ประการดังนี้
1.
อนาคตกาล
การแปลที่ต้องเทียบปัจจุปันกาลกับอนาคตกาล
2.
โครงสร้างประโยคอื่นๆในการแปลแบบกาลในภาษาอังกฤษ
รวมทั้งโครงสร้างของไวยากรณ์ที่มีบางอย่างยาก
3.
คำศัพท์เฉพาะ
4.
ตีความทำนาย
การแปลกับการตีความจากปริบท
ผู้แปลต้องมีความใกล้เคียง
และความคิดรวบยอด ไม่ใช่แปลแบบใช้ความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน
แต่ให้ดูสถานภาพที่เป็นอยู่ของข้องความ
การวิเคราะห์ความหมาย
การวิเคราะห์ความหมาย
ประกอบด้วย องค์ประกอบของความหมาย ความหมายและรูปแบบและประเภทของความหมาย
องค์ประกอบของความหมาย
1.
คำศัพท์
ถือคำที่ตกลงยอมรับกันของผู้ใช้ภาษาซึ่งมีคำศัพท์จำนวนมากในการสื่อสาร ความหมายของคำศัพท์แต่ล่ะคำจะเปลี่ยนไปตามบริบท
2.
ไวยากรณ์
คือแบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา เพื่อให้ประโยคนั้นๆมีความหมาย
3.
เสียง ในภาษาจะมีเสียงซึ่งเสียงส่วนมากจะมีความหมาย
เมื่อนำเสียงมารวมกันจะเกิดเป็นหน่วยคำที่มีความหมาย เรียกว่า คำ หรือ คำศัพท์
ความหมายและรูปแบบ
1.
ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจแสดงได้หลายรูปแบบ
เช่นในประโยคที่ต่างกันหรือการใช้คำที่ต่างกัน
2.
รูปแบบเดียวอาจมีหลายความหมาย
ความหมายของรูปแบบแต่ละรูปแบบนั้นไม่แน่นอนตายตัวขึ้นอยู่กับปริบทเป็นสำคัญ
ประเภทของความหมาย
นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดความหมายไว้
4 ประเภทด้วยกัน
1.
ความหมายอ้างอิงหรือความหมายโดยตรง
คือความหมายที่กล่าวโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมหรือเป็นความคิดหรือมโนภาพ
2.
ความหมายแปล คือ
ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้ฟังและผู้อ่าน
ซึ่งจะก่อให้เกิดความหมายในทางบวกหรือทางลบโดยขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและภูมิหลังของบุคคล
3.
ความหมายตามปริบท
รูปแบบหนึ่งๆของภาษา อาจจะมีความหมายหลายความหมาย ต้องพิจารณาจากปริบทและสิ่งแวดล้อมของคำทั้งหมด
จึงจะรู้ว่าผู้เขียนต้องการสื่อถึงอะไร
4.
ความหมายเชิงอุปมา
เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบแบบเปิดเผยและการเปรียบเทียบโดยนัย
ซึ่งผู้แปลจะต้องวิเคาระห์การเปรียบเทียบให้ถูกต้อง
การเลือกบทแปล ควรเลือกตามจุดประสงค์ของการสอนแปล
เพื่อให้ได้ความหลากหลายของประเภทงานเขียน
โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของคนในการแปล
และให้ผู้เรียนได้ความรู้ทั้งทักษะด้านภาษาและเนื้อหาไปด้วย
เรื่องที่จะแปล
1 เป็นเรื่องที่เลือกเฟ้น
2 เรียบเรียงให้ถูกต้องทันกับสากลตลอดจนความละเอียดในภาษา
3 ใช้ภาษาที่แปลอย่างถูกต้อง
ข้อควรระวัง คิอ วัฒนธรรมของเรื่องเดิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น