วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

กระบวนการแปล (Process of Translating)

กระบวนการแปล  (Process of Translating)
                  งานแปลในยุคโบราณเป็นการแปลทางศาสนา และการแปลวรรณกรรมด้วยภาษาที่สละสลวย ในยุคโบราณนั้นงานแปลส่วนใหญ่เป็นงานของชนชั้นสูงและผลงานของผู้ที่มีความสามารถพิเศษ ดังนั้นจึงมีการคิดค้นหาวิธีการที่จะทำให้งานแปลมีคุณภาพและเป็นวิธีที่คนทั่วไปปฏิบัติได้ นักวิชาการด้านการแปลได้ศึกษาวิธีการนักแปลมืออาชีพใช้ แล้วนำมาจัดเป็นขั้นตอนที่นักแปลมือใหม่จะทำตามได้ เรียกว่าเป็น กระบวนการแปล
1.              รูปแบบกระบวนการแปลของ Roger T. Bell
กระบวนการแปลประกอบด้วย 2 กระบวนการหลัก คือ 1 Analysis การแปลวิเคราะห์ต้นฉบับ และ Synthesis การสังเคราะห์ความหมายเป็นภาษาฉบับแปล
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ (Analysis)
·       การวิเคราะห์โครงสร้าง เป็นขั้นตอนแรกในการแปลคือ การอ่านต้นฉบับในระดับอนุประโยค
·       การวิเคราะห์เนื้อหา ในขั้นตอนนี้เป็นการใส่เนื้อหา ให้กับโครงสร้างที่มาจากขั้นตอนที่แล้ว
·       การวิเคราะห์การใช้ภาษา มี 2 ขั้นตอน คือ
-แยกเนื้อหาหลัก และ วิเคราะห์ลีลาภาษา
ขั้นตอนที่ 2 การสังเคราะห์ (Syntactic)
·       Pragmatic Syntactic ในขั้นตอนนี้จะใช้ข้อมูล เพื่อพิจารณาว่าจะรักษาหรือเปลี่ยนแปลง ต้นฉบับในด้านความมุ่งหมาย และลีลาภาษา
·       Semantic Synthesis ดำเนินการสร้างโครงสร้างที่บรรจุเนื้อหาของข้อความ
·       Syntactic Synthesis ขั้นตอนนี้จะตรวจสอบความเหมาะสมของความหมาย เพื่อเรียบเรียงข้อความในภาษาแปล

2.รูปแบบกระบวนการแปลของ Daniel Gile
ขั้นตอนที่ 1 ความเข้าใจ (Comprehension)
ในขั้นแรกนักแปลอ่านต้นฉบับที่ละ Translate Unit ซึ่งหมายถึงการแบ่งข้อความที่อ่านออกเป็นหน่วยเดียว เช่น yes หรือเป็นประโยคทั้งประโยคก็ได้หรือยาวกว่าหนึ่งประโยคก็ได้
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างใหม่ (Reformulation)
นักแปลจะต้องตรวจสอบว่ามีความหมายถูกต้องหรือไม่ และมีการเติมข้อมูลนอกเหนือจากต้นฉบับหรือไม่ นักแปลจะทดสอบจนกว่าจะแน่ใจ
การใช้กระบวนการแปล
(Application of Translation Process)
         ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ต้นฉบับ (Analyzing)
           ในการวิเคราะห์ต้นฉบับนั้นจะวิเคราะห์เป็นหน่วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องแบ่งต้นฉบับออกเป็น Translate Unit (TU) หรือ Unit of Translation (UT)
          Syntactic analysis: เป็นการวิเคราะห์ภาษาต้นฉบับออกจากโครงสร้าง
      Semantic analysis:  เป็นการวิเคราะห์ความหมายของโครงสร้างที่วิเคราะห์ได้
         Pragmatic analysis: เป็นการวิเคราะห์หน้าที่ขององค์ประกอบในโครงสร้าง
        การวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 1 จะช่วยให้นักแปลทำหน้าที่ผู้อ่านต้นฉบับได้รับข้อมูลที่สื่อสารผ่าน Translate Unit ได้ทุกด้านไม่ว่าจะเป็นความหมายเชิงโครงสร้างหรือความมุ่งหมายของการสื่อสาร
          ขั้นตอนที่ 2 การแปลต้นร่าง (Draft)
          การแปลในรูปแบบนี้มีความเชื่อพื้นฐานว่าการแปล คือ การแทนที่ต้นฉบับด้วยภาษาฉบับแปลที่มีความหมายเทียบเคียงกัน
         นักวิชาการแปล ให้ความสำคัญกับการศึกษามากและได้แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
·       Formal equivalence
·       Semantic equivalence
·       Textual equivalence
ในขั้น drafting นั้นแท้จริงก็คือ การหาภาษาฉบับแปลที่ความหมายเทียบเคียงภาษาต้นฉบับนั่นเอง และสามารถแบ่งออกไปเป็นระดับต่างๆ ดังนี้
·       Finding equivalence at word and phrase level เป็นการหาคำหรือวลีที่มีความหมายตรงตามต้นฉบับ
·       Finding equivalence at the level of grammar ไวยากรณ์(grammar) นั้นหมายถึง กฎที่ควบคุมโครงสร้างต่างๆ ประกอบด้วย morphology และ syntax

·       Finding equivalence at the level of text เป็นการเชื่อมโยงประโยคหรือข้อความ

2 ความคิดเห็น: