วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Passive

Passive
ประโยค (Sentence) คือข้อความที่เอ่ยมาแล้วเข้าใจได้กระจ่างชัดว่า ประธาน แสดง กริยา อะไร เมื่อใด ถ้ากริยานั้นต้องมีกรรม (Transitive Verb) ก็ต้องมีกรรมระบุในประโยคด้วย เช่น
·       เขา เดิน
He walked
เขา เป็นประธาน (Subject)
เดิน เป็นกริยาไม่ต้องการกรรม (Intransitive Verb) เป็นอดีตกาล (Past tense)
·       เรา กิน มันฝรั่ง
We eat potatoes
เรา เป็นประธาน (Subject)
กิน เป็นกริยาต้องมีกรรม (Transitive Verb) เป็นปัจจุบันกาล (Present Tense)
ทั้ง 2 ประโยคข้างต้นนี้ มีประธานเป็นผู้กระทำทั้งสิ้น (แต่จะอยู่ในรูป tense อย่างใด ก็สุดแท้แต่เวลาที่ต้องการบ่งชี้) เราเรียกโครงสร้างของประโยคชนิดนี้ว่า กรรตุวาจก (Active Voice) ลองสังเกตประโยคต่อไปนี้ดูบ้าง
·       Mangoes are eaten
มะม่วง ถูกกิน
มะม่วง เป็นประธาน (Subject)
ถูกกิน เป็นกริยา (Present Tense)

หลักการแปลวรรณกรรม

หลักการแปลวรรณกรรม
\
วรรณกรรม หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ไม่ว่าจะใช้ร้อยแก้วหรือร้อยกรอง ตามปกติวรรณกรรมถูกจัดไว้ในงานประเภท บันเทิงคดี

หลักการแปลนวนิยาย
                นวนิยายแปลเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทุกประเทศและทุกกาลสมัย ผู้แปลมีความสำคัญเกือบจะเท่าผู้แต่ง
                1.การแปลชื่อเรื่องวรรณกรรม ชื่อของหนังสือหรือภาพยนตร์มีความสำคัญเป็นอันดับแรกซึ่งการแปลชื่อเรื่องมีความสำคัญเทียบเท่าใบหน้าของคนเราซึ่งจะต้องความพิถีพิถันในการแปล มีหลักการอยู่ 4 แบบดังนี้
·       ไม่แปล ใช้วิธีการถอดเสียงหรือถ่ายทอดตามตัวอักษร
·       แปลตามตัว ถ้าชื่อมีความสมบูรณ์ครบถ้วนก็จะใช้วิธีการแปลตรงตัวโดนรักษาคำและความหมาย   
·       แปลบางส่วนแปลงบางส่วน ใช้เมื่อชื่อในต้นฉบับห้วนเกินไปไม่ดึงดูดและสื่อความหมายไม่เพียงพอ
·       ตั้งชื่อใหม่โดยการตีความชื่อเรื่องและเนื้อเรื่อง จะต้องวิเคราะห์เนื้อหา
                2.การแปลบทสนทนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากในการแปลวรรณกรรมเพราะมีภาษาหลายระดับที่เต็มไปด้วยคำสแลง คำสบถ คำย่อ คำตัด
                3.การแปลบทบรรยาย เป็นข้อความที่เขียนเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ซึ่งมักจะใช้ภาษาเขียนที่ขัดเกลาและแตกต่างกันหลายระดับก่อให้เกิดความยุ่งยากขึ้นอีกระดับ
·       ภาษาในสังคม โดยเฉพาะภาษาถิ่นที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการแปลทั้งเรื่องเสียง การใช้คำ ความหมายของคำ การเรียงคำ
·       ภาษาวรรณคดี คำนึงถึง ลีลาของการเขียน ที่เป็นลักษณะเฉพาะของผู้เขียน

ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ (สิทธา พินิจภูวดล)

ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ  (สิทธา พินิจภูวดล)

                การเขียนที่ดีต้องเขียนด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติคือภาษาที่คนใช้พูดทั่วไปในสังคมเพื่อให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจได้ง่าย นักแปลต้องพิจารณาเพื่อให้งานที่แปลเป็นภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
คำ ความหมาย ในการสร้างคำ
                คำว่าทำมีความหมายแตกต่างกันหลายอย่างมีทั้งความหมายตรงและความหมายแฝงมีความหมายเชิงเปรียบเทียบและคำบางคำมีความหมายต่างกันไปตามยุคสมัย
การสร้างคำกริยา
                การเสริมท้ายคำกริยาด้วยคำกริยาซึ่งทำให้เราเข้าใจความหมายที่แท้จริงดั้งเดิมของมัน ส่วนใหญ่คำที่นำมาเสริมนั้นได้แก่ขึ้น ลง ไป มา
การเข้าคู่คำ
                คือการนำคำหลายคำมาเข้าคู่กันเพื่อให้ได้คำใหม่ โดยมีความหมายใหม่หรือมีความหมายคงเดิม

โครงสร้างพื้นฐานของประโยค

โครงสร้างพื้นฐานของประโยค

          โครงสร้างประโยคพื้นฐาน คือ ประโยคที่ประกอบด้วยประโยคล้วน ใช้คำเฉพาะ มีใจความสมบูรณ์ ถูกต้องตามหลักภาษา สื่อความหมายตรงไปตรงมาแต่อาจขาดความไพเราะ
                นักภาษาศาสตร์ต่างแยกประโยคพื้นฐานไว้แตกต่างกันแต่ที่น่าสนใจคือของฮอร์นบีและไนดาที่แยกประโยคพื้นฐานไว้ใน The Advanced Learner’s Dictionary of Current English ไว้ 25 รูปแบบ โดยคือตามหน้าที่และความนิยมในการใช้คำกริยาหลักซึ่งมีรูปแบบดังนี้
VP 1     Vb + Direct Object
                                He cuts his finger.
VP2      Vb + (not) to + Infinitive, ect.
                                He wants to go.
VP3      Vb + noun or pronoun + (not) to + Infinitive, ect.
                                John likes his wife to dress well.

การแปลบันเทิงคดี (The Translation of Literary Work)

การแปลบันเทิงคดี (The Translation of Literary Work)
1.            องค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดี
เป็นงานเขียนที่มีเนื้อสาระและความจริงเล็กน้อยโดยผู้เขียนจะเสริมเติมแต่งความคิดเห็นความรู้สึกของตนเองลงไป โดยที่จุดประสงค์หลักของผู้เขียนก็คือให้ผู้อ่านเกิดความบันเทิง ดังนั้นงานเขียนประเภทนี้เป็นการผสมผสานระหว่างความจริงและจินตนาการของผู้เขียน ประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ประการ คือองค์ประกอบทางด้านภาษา และองค์ประกอบที่ไม่ใช่ภาษา อย่างเช่นอารมณ์ความรู้สึก

การถ่ายทอดตัวษร

การถ่ายทอดตัวษร
                การถ่ายทอดตัวอักษรหมายถึงการนำคำในภาษาหนึ่งมาเขียนด้วยตัวอักษรของอีกภาษาหนึ่งโดยพยายามให้การเขียนในภาษาใหม่นี้ถ่ายทอดเสียงของคำในภาษาเดิมให้ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะทำได้การถ่ายทอดตัวอักษรมีบทบาทในการแปลจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่งในกรณีต่อไปนี้
                1 เมื่อในภาษาต้นฉบับมีที่ใช้แทนชื่อเฉพาะของสิ่งต่างๆเช่นชื่อคนชื่อสถานที่ชื่อภูเขาแม่น้ำหรือแม้แต่ชื่อสถาบันต่างๆ
                2 เมื่อคำในภาษาต้นฉบับมีความหมายอ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรมที่ไม่มีในสังคมของภาษาฉบับแปลจึงไม่มีคำเปรียบเทียบได้เช่นคำที่ใช้เรียกต้นไม้ซับและกิจกรรมบางชนิดความคิดในกรณีนี้ พูดเลยอาจแก้ปัญหาได้สองประการคือ

กระบวนการแปล (Process of Translating)

กระบวนการแปล  (Process of Translating)
                  งานแปลในยุคโบราณเป็นการแปลทางศาสนา และการแปลวรรณกรรมด้วยภาษาที่สละสลวย ในยุคโบราณนั้นงานแปลส่วนใหญ่เป็นงานของชนชั้นสูงและผลงานของผู้ที่มีความสามารถพิเศษ ดังนั้นจึงมีการคิดค้นหาวิธีการที่จะทำให้งานแปลมีคุณภาพและเป็นวิธีที่คนทั่วไปปฏิบัติได้ นักวิชาการด้านการแปลได้ศึกษาวิธีการนักแปลมืออาชีพใช้ แล้วนำมาจัดเป็นขั้นตอนที่นักแปลมือใหม่จะทำตามได้ เรียกว่าเป็น กระบวนการแปล
1.              รูปแบบกระบวนการแปลของ Roger T. Bell
กระบวนการแปลประกอบด้วย 2 กระบวนการหลัก คือ 1 Analysis การแปลวิเคราะห์ต้นฉบับ และ Synthesis การสังเคราะห์ความหมายเป็นภาษาฉบับแปล
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ (Analysis)
·       การวิเคราะห์โครงสร้าง เป็นขั้นตอนแรกในการแปลคือ การอ่านต้นฉบับในระดับอนุประโยค
·       การวิเคราะห์เนื้อหา ในขั้นตอนนี้เป็นการใส่เนื้อหา ให้กับโครงสร้างที่มาจากขั้นตอนที่แล้ว
·       การวิเคราะห์การใช้ภาษา มี 2 ขั้นตอน คือ
-แยกเนื้อหาหลัก และ วิเคราะห์ลีลาภาษา
ขั้นตอนที่ 2 การสังเคราะห์ (Syntactic)
·       Pragmatic Syntactic ในขั้นตอนนี้จะใช้ข้อมูล เพื่อพิจารณาว่าจะรักษาหรือเปลี่ยนแปลง ต้นฉบับในด้านความมุ่งหมาย และลีลาภาษา
·       Semantic Synthesis ดำเนินการสร้างโครงสร้างที่บรรจุเนื้อหาของข้อความ
·       Syntactic Synthesis ขั้นตอนนี้จะตรวจสอบความเหมาะสมของความหมาย เพื่อเรียบเรียงข้อความในภาษาแปล