ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา
ที่เราพูดสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเราเข้าใจโครงสร้างของภาษา
โครงสร้างจะเป็นตัวบอกว่าเราจะนำคำศัพท์คำไหนมาเรียงกันจึงจะทำให้เข้าใจของผู้ที่เราสื่อสารด้วย
ในการใช้ภาษาถ้าเราไม่เข้าใจโครงสร้างของภาษานั้น เราจะล้มเหลวในการสื่อสาร คือ
ฟังหรืออ่านไม่เข้าใจและพูดหรือเขียนให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้
1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ
เป็นสิ่งที่สำคัญในโครงสร้างเพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาร้อยเรียงกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
ประเภททางไวยากรณ์
หมายถึงลักษณะที่สำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง
ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ
เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษพบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย
ซึ่งจะมีลักษณะทางไวยากรณ์หรือตัวบ่งชี้ที่ต่างกัน
1.1.1 บุรุษ(person) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึง
ผู้พูดผู้ฟังและผู้ที่ถูกกล่าวถึง
-
ภาษาอังกฤษแยกสรรพนามตามบุรุษอย่างชัดเจน
-
ภาษาไทยแยกได้ไม่ชัดเจนเพราะบางคำใช้ได้หลายบุรุษ
1.1.2 พจน์(number) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวน
ว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่งหรือจำนวนมากกว่าหนึ่ง
-
ภาษาอังกฤษมีการแบ่งพจน์โดยใช้ตัวกำหนด
a/an
-
ภาษาไทยไม่มีการแยกสรรพสิ่งตามจำนวน
1.1.3 การก(case) เป็นตัวบ่งชี้คำนามนั้นๆว่ามีบทบาทอะไร
-
ภาษาอังกฤษ
การกของคำนามมักแสดงด้วยการเรียงคำ
-
ภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำ
แต่มีการเรียงคำที่ต่างจากภาษาอังกฤษ
1.1.4 นามนับได้กับนามนับไม่ได้
(countable
and uncountable nouns)
คำนามในภาษาอังกฤษที่ต่างจากภาษาไทยคือ
การแบ่งเป็น
นามนับได้และนับไม่ได้
-
ภาษาอังกฤษแยกความแตกต่างระหว่างคำนามได้
-
ภาษาไทย
คำนามทุกคำนับได้
1.1.4 ความชี้เฉพาะ
(definiteness) คือ การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ
-
ผู้พูดภาษาอังกฤษต้องหัดแยกแยะตั้งแต่เริ่มพูด
-
ผู้พูดภาษาไทยไม่มีการแยกความแตกต่าง
1.2
คำกริยา
คำกริยาเป็นหัวใจของประโยค
การใช้กริยาซับซ้อนกว่าการใช้คำนาม
เพราะมีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท
1.2.1 กาล(
tense )
-
คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอ
ทั้งอดีตและปัจจุปัน
-
ภาษาไทยไม่ถือว่ากาลเป็นเรื่องสำคัญ
1.2.2 การณ์ลักษณะ(aspect) คือลักษณะของการกระทำ หรือเหตุการณ์
-
ในภาษาอังกฤษ
ได้แก่
การณ์ลักษณะต่อเนื่อง
หรือการณ์ลักษณะดำเนินอยู่และการณ์ลักษณะเสร็จสิ้น
-
ในภาษาไทยจะมีคำว่า
กำลัง
อยู่
แล้ว
ในการแสดงการณ์ลักษณะนี้
1.2.3 มาลา(mood) คือประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับกริยา
มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร
-
มีมาลาในภาษาอังกฤษ
-
ไม่มีมาลาในภาษาไทย
1.2.4 วาจก(voice) เป็นตัวบ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยาว่าประธานเป็นผู้กระทำ
หรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ
-
ในภาษาอังกฤษ
ประโยคส่วนใหญ่จะมีกริยาเป็นกรรตุวาจก
-
ในภาษาไทย
คำกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปในตัวของมันเอง
1.2.5 กริยาแท้กับกริยาไม่แท้
(finite
vs. non-finite)
-
ภาษาอังกฤษมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น
-
ภาษาไทย
กริยาทุกตัวไม่มีการแสดงรูปที่ต่างกัน
1.3
ชนิดของคำประเภทอื่นๆ
ชนิดของคำประเภทอื่นนอกจากคำนามกับคำกริยามีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยา
และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่านามกับกริยา
-
คำบุพบทในภาษาอังกฤษสามารถห้อยท้ายวลีหรือประโยคได้
-
ภาษาไทยไม่มีโครงสร้างแบบนี้
2.หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.1 หน่วยสร้างนามวลี:
ตัวกำหนด
(Determiner) + นาม
(อังกฤษ) Vs.
นาม
(ไทย)
- นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนดอยู่หน้านามเสมอ
- นามวลีในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนดแบบภาษาอังกฤษแต่มีตัวบ่งชี้
2.2 หน่วยสร้างนามวลี:
ส่วนขยาย
+
ส่วนหลัก
(อังกฤษ) Vs.
ส่วนหลัก
+
ส่วนขยาย
(ไทย)
- ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก
- ภาษาไทยวางส่วยขยายไว้หลังส่วนหลัก
2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก
(passive
constructions)
- ภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเดียวที่เด่นชัด
- ภาษาไทยหน่วยสร้างกรรมวาจกมีหลายรูปแบบ
กริยาที่เกี่ยวกับอารมณ์
ความรู้สึก
ภาษาไทยมักเป็นกรรตุวาจก
เช่นสนใจ
ตื่นเต้น
ส่วนในภาษาอังกฤษเป็นกรรมวาจก
2.4หน่วยสร้างประโยคเน้น
subject(อังกฤษ) กับ
ประโยคเน้น topic (ไทย)
2.5หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb
constructon)
หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปล
3.สรุป ในการแปลระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษนั้น
ลักษณะทางโครงสร้างที่แตกต่างกันและผู้แปลควรให้ความสนใจเป็นพิเศษมีดังนี้ คิอ
3.1 เรื่องชนิดของคำ
ปัญหาเกิดจากการที่ภาษาหนึ่งมีชนิดของคำบางประเภทแต่อีกภาไม่มี
3.2 เรื่องประเภททางไวยากรณ์
3.3 เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น