รูปแบบการเขียนรูปแบบการเขียน หมายถึง การเรียบเรียงเนื้อหาในการเขียน จะมีโครงสร้างที่เป็นแบบแผน ซึ่งมีองค์ประกอบที่ใช้การเขียน รูปแบบการเขียนนั้นจะมีความ แตกต่างกันออกไปตามจุดประสงค์จุดประสงค์ในการเขียน1. เพื่อเล่าเรื่อง บอกเรื่องราวต่างๆจากประสบการณ์2. เพื่อแสดงความคิดเห็นและแนะนำ3. เพื่ออธิบายให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ4. เพื่อจดบันทึกการฟัง การดูและการอ่าน จากสื่อต่างๆ5. เพื่อการวิเคราะห์6. เพื่อการวิจารณ์7. เพื่อสร้างจินตนาการและความบันเทิง8. เพื่อการโฆษณา ชักจูงใจ เชิญชวน และประกาศแจ้ง9. เพื่อประโยชน์ในการเรียน10. เพื่อการใช้ในชีวิตประจำวัน1. การเขียนรายงานสารสนเทศ (Information report) เป็นการเขียนโดยกล่าวถึงข้อเท็จจริง ทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ตอน ได้แก่1) ตอนนำ (Introduction) กล่าวถึงนิยามหรือการจัดประเภท2) ตอนบรรยาย (Description) กล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้นเป็นย่อหน้าๆ ได้แก่· เรื่องเกี่ยวกับสัตว์· เรื่องเกี่ยวกับบุคคล ประกอบด้วย· เรื่องเกี่ยวกับสิ่งของ ประกอบด้วย· เรื่องเกี่ยวกับสถานที่ ประกอบด้วย3) ตอนสรุป (Conclusion) เขียนสรุปความหรือข้อคิดเห็นเนื่องจากเป็นข้อเท็จจริง จึงไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึก ใช้สรรพนามบุรุษที่สาม2. การเขียนเกี่ยวกับวิธีการ (Procedure) เป็นข้อเขียนที่บอกให้ทราบว่า จะทำ สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้อย่างไร แบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่· เป้าประสงค์ (Goal)· สิ่งที่ต้องการใช้ (Requirements)· ขั้นตอน (Steps)3. การเขียนเล่าเหตุการณ์ (Recount) เป็นข้อเขียนที่เล่าถึงเหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่ผ่านมา แบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่· ตอนนำ (Introduction) เป็นการกำหนดฉาก· เหตุการณ์ (Evaents) คือ อะไรที่เกิดตามลำดับของเวลา โดยใช้คำเกี่ยวกับเวลา· ตอนสรุป (Conclusion) เป็นการกล่าวถึงข้อคิดเห็นส่วนตัว ใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง4. การเขียนอธิบาย (Explanation) เป็นข้อเขียนที่อธิบายว่าบางสิ่งบางอย่างทำงานอย่างไรหรือบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นได้อย่งไร ทำไมจึงเกิดขึ้น การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่· ตอนนำ (Introduction) เป็นข้อความทั่วไปเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง· การอธิบาย เป็นชุดของข้อความที่อธิบายตามลำดับในเรื่อง· ตอนสรุป เป็นการสรุปความหรือให้ข้อคิดเห็นการเขียนแต่ละประเด็นสำคัญให้ขึ้นย่อหน้าใหม่ ข้อเขียนจะเป็นปัจจุบันกาล ไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึก ใช้สรรพนามบุรุษที่สาม5. การเขียนโน้มน้าว (Persuasion) เป็นข้อเขียนที่นำเสนอความเห็นพร้อมด้วยเหตุผลหรือหลักฐานสนับสนุนเพื่อชักจูงความคิดของผู้อ่าน แบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่· ตอนแสดงจุดยืนของผู้เขียน (Position) โดยกล่าวถึงหัวข้อเรื่องหรือประเด็นปัญหาว่าคืออะไร· ตอนที่ว่าด้วยเหตุผล (Arguments) กล่าวถึงประเด็นสำคัญทีละประเด็น พร้อมด้วยหลักฐานสนับสนุน· ตอนสรุปรวม (Summing up) กล่าวย้ำถึง ความเชื่ออันเป็นจุดยืนของผู้เขียนซ้ำอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับสรุปเหตุผลสำคัญๆ6. การเขียนอภิปราย (Discussion) เป็นข้อเขียนที่กล่าวทั้งข้อดีและข้อเสียของหัวข้อปัญหา โดยแสดงเหตุผลที่สนับสนุนและคัดค้านในเรื่องนั้น การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน คือ· ตอนที่ว่าด้วยหัวข้อปัญหา (Issue) เป็นการแนะนำหัวข้อปัญหาหรือหัวข้อเรื่องว่า คืออะไร· ตอนที่ว่าด้วยเหตุผล (Argnment) กล่าวถึงประเด็นและหลักฐานของกลุ่มที่สนับสนุนและคัดค้าน ดังนี้-กลุ่มที่สนับสนุน-กลุ่มที่คัดค้าน· ตอนสรุป เป็นการสรุปความถึงเหตุผลและผู้เขียนให้ข้อเสนอแนะอะไร เพราะเหตุใด การเขียนมีการใช้คำนาม สรรพนาม และคำที่เชื่อมถึงเหตุผลที่แสดง7. การเขียนเล่าเรื่อง (Narrative) เป็นข้อเขียนที่เล่าถึงเรื่อง ต่างๆที่ให้ความบันเทิง มุ่งที่จะให้ผู้อ่านเกิดความตั้งใจ มีหลายประเภท ได้แก่ ละครเหมือนชีวิตจริง เรื่องเชิงจินตนาการ เรื่องผจญภัย นิยายเชิงวิทยาศาสตร์ เป็นต้น แบ่งออกเป็น 4 ตอน ได้แก่· ตอนที่เป็นการเกริ่น (Orientation) กล่าวถึง ฉากและตัวละคร· ตอนที่กล่าวถึงความยุ่งยาก (Complication) เป็นการกล่าวถึงความยากลำบากหรือปัญหา ที่ก่อให้เกิดลำดับของเหตุการณ์ที่น่าสนใจตามมา· ลำดับเหตุการณ์ (Sequence of events) ซึ่งอาจประกอบด้วย-การบรรยายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น-ลำดับเหตุการณ์เฉพาะที่เกิดขึ้นกับตัวละครแต่ละตัว-การผสมผสานของลำดับ-ความยุ่งยากอื่นๆ· การแก้ปัญหา (Resolution) เป็นการกล่าวถึงผลสุดท้ายของเหตุการณ์ณ์ ซึ่งเป็นชุดที่ปัญหาได้รับการแก้ไข8. การเขียนแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกตอบสนอง (Response) เป็นข้อเขียนที่ผู้เขียนบรรยายถึงปฏิกิริยาตอบสนองต่อเรื่องราวหรือเหตุการณ์ ใช้สำหรับการวิจารณ์ เพื่อแสดงถึงความคิด แบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่· ตอนที่เป็นการเกริ่นนำ (Orcintation) เป็นการระบุเรื่องว่าอะไร ใคร เมื่อไร และ ที่ไหน· รายละเอียด (Details) เป็นการบรรยายเรื่องและปฏิกิริยาตอบสนองของผู้เขียน· การสรุป กล่าวถึงการประเมินตอนสุดท้าย หรือข้อเสนอแนะ การเขียนจะใช้คำที่เป็นการบรรยาย9. การเขียนบรรยาย (Description) เป็นข้อเขียนที่ให้รายละเอียดของคุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่· ตอนนำ (Introduction) เป็นข้อความทั่วไปเกี่ยวกับเรื่อง· ตอนรายละเอียด (Detail) เป็นการบรรยายคุณลักษณะ-สำหรับบุคคล-สำหรับสิ่งของ· ตอนสรุป สรุปใจความสำคัญ10. การเขียนจดหมาย (Letter) จดหมายคือสารในรูปข้อเขียนที่มีหลายชนิด แบ่งเป็น 4 ตอนได้แก่· ผู้ส่ง (Sender)· ถึงผู้รับ (To)· สาร (Message)· จากผู้ส่ง (From)11. คำเชิญ (Invitation) เป็นข้อเขียนที่ขอร้องให้เข้าร่วมเหตุการณ์ แบ่งเป็น 4 ตอน ได้แก่· ถึงผู้รับ ระบุชื่อบุคคลหรือกลุ่ม· รายละเอียด ประกอบด้วยงานอะไร เช่น ปาร์ตี้ อาหารกลางวัน กาแฟ เลี้ยงอำลา เมื่อไร ได้แก่ วันที่และเวลาที่ไหน ได้แก่ ที่อยู่และที่ตั้ง· จากใคร รายละเอียดของผู้ส่ง· การตอบกลับ รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการตอบกลับ12. การเขียนข่าว (News) เป็นข้อเขียนที่บรรยายถึงเหตุการณ์ปัจจุบัน แบ่งเป็น 5 ตอน ได้แก่· หัวข้อข่าว (Headline)· ตอนนำ (Lead)· เนื้อข่าว (Body)· ข้อเสนอแนะ· ขื่อผู้เขียนข่าวคำแนะนำของ Eather ในการเขียนตามรูปแบบต่างๆ ส่วนใหญ่จะแบ่งการเขียนเป็น 3 ตอน (มีจำนวนเล็กน้อยที่แบ่งเป็น 4 ตอนและมากกว่า) ซึ่งคล้ายกับแนวการเขียนของ Answer Corperation (2010: Online) ที่กล่าวในตอนต้น คำแนะนำต่างๆ นี้สามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนได้อย่างดี (Sweet Briar College (2010: Online)
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
รูปแบบการเขียน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น