วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Passive

Passive
ประโยค (Sentence) คือข้อความที่เอ่ยมาแล้วเข้าใจได้กระจ่างชัดว่า ประธาน แสดง กริยา อะไร เมื่อใด ถ้ากริยานั้นต้องมีกรรม (Transitive Verb) ก็ต้องมีกรรมระบุในประโยคด้วย เช่น
·       เขา เดิน
He walked
เขา เป็นประธาน (Subject)
เดิน เป็นกริยาไม่ต้องการกรรม (Intransitive Verb) เป็นอดีตกาล (Past tense)
·       เรา กิน มันฝรั่ง
We eat potatoes
เรา เป็นประธาน (Subject)
กิน เป็นกริยาต้องมีกรรม (Transitive Verb) เป็นปัจจุบันกาล (Present Tense)
ทั้ง 2 ประโยคข้างต้นนี้ มีประธานเป็นผู้กระทำทั้งสิ้น (แต่จะอยู่ในรูป tense อย่างใด ก็สุดแท้แต่เวลาที่ต้องการบ่งชี้) เราเรียกโครงสร้างของประโยคชนิดนี้ว่า กรรตุวาจก (Active Voice) ลองสังเกตประโยคต่อไปนี้ดูบ้าง
·       Mangoes are eaten
มะม่วง ถูกกิน
มะม่วง เป็นประธาน (Subject)
ถูกกิน เป็นกริยา (Present Tense)

หลักการแปลวรรณกรรม

หลักการแปลวรรณกรรม
\
วรรณกรรม หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ไม่ว่าจะใช้ร้อยแก้วหรือร้อยกรอง ตามปกติวรรณกรรมถูกจัดไว้ในงานประเภท บันเทิงคดี

หลักการแปลนวนิยาย
                นวนิยายแปลเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทุกประเทศและทุกกาลสมัย ผู้แปลมีความสำคัญเกือบจะเท่าผู้แต่ง
                1.การแปลชื่อเรื่องวรรณกรรม ชื่อของหนังสือหรือภาพยนตร์มีความสำคัญเป็นอันดับแรกซึ่งการแปลชื่อเรื่องมีความสำคัญเทียบเท่าใบหน้าของคนเราซึ่งจะต้องความพิถีพิถันในการแปล มีหลักการอยู่ 4 แบบดังนี้
·       ไม่แปล ใช้วิธีการถอดเสียงหรือถ่ายทอดตามตัวอักษร
·       แปลตามตัว ถ้าชื่อมีความสมบูรณ์ครบถ้วนก็จะใช้วิธีการแปลตรงตัวโดนรักษาคำและความหมาย   
·       แปลบางส่วนแปลงบางส่วน ใช้เมื่อชื่อในต้นฉบับห้วนเกินไปไม่ดึงดูดและสื่อความหมายไม่เพียงพอ
·       ตั้งชื่อใหม่โดยการตีความชื่อเรื่องและเนื้อเรื่อง จะต้องวิเคราะห์เนื้อหา
                2.การแปลบทสนทนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากในการแปลวรรณกรรมเพราะมีภาษาหลายระดับที่เต็มไปด้วยคำสแลง คำสบถ คำย่อ คำตัด
                3.การแปลบทบรรยาย เป็นข้อความที่เขียนเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ซึ่งมักจะใช้ภาษาเขียนที่ขัดเกลาและแตกต่างกันหลายระดับก่อให้เกิดความยุ่งยากขึ้นอีกระดับ
·       ภาษาในสังคม โดยเฉพาะภาษาถิ่นที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการแปลทั้งเรื่องเสียง การใช้คำ ความหมายของคำ การเรียงคำ
·       ภาษาวรรณคดี คำนึงถึง ลีลาของการเขียน ที่เป็นลักษณะเฉพาะของผู้เขียน

ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ (สิทธา พินิจภูวดล)

ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ  (สิทธา พินิจภูวดล)

                การเขียนที่ดีต้องเขียนด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติคือภาษาที่คนใช้พูดทั่วไปในสังคมเพื่อให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจได้ง่าย นักแปลต้องพิจารณาเพื่อให้งานที่แปลเป็นภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
คำ ความหมาย ในการสร้างคำ
                คำว่าทำมีความหมายแตกต่างกันหลายอย่างมีทั้งความหมายตรงและความหมายแฝงมีความหมายเชิงเปรียบเทียบและคำบางคำมีความหมายต่างกันไปตามยุคสมัย
การสร้างคำกริยา
                การเสริมท้ายคำกริยาด้วยคำกริยาซึ่งทำให้เราเข้าใจความหมายที่แท้จริงดั้งเดิมของมัน ส่วนใหญ่คำที่นำมาเสริมนั้นได้แก่ขึ้น ลง ไป มา
การเข้าคู่คำ
                คือการนำคำหลายคำมาเข้าคู่กันเพื่อให้ได้คำใหม่ โดยมีความหมายใหม่หรือมีความหมายคงเดิม

โครงสร้างพื้นฐานของประโยค

โครงสร้างพื้นฐานของประโยค

          โครงสร้างประโยคพื้นฐาน คือ ประโยคที่ประกอบด้วยประโยคล้วน ใช้คำเฉพาะ มีใจความสมบูรณ์ ถูกต้องตามหลักภาษา สื่อความหมายตรงไปตรงมาแต่อาจขาดความไพเราะ
                นักภาษาศาสตร์ต่างแยกประโยคพื้นฐานไว้แตกต่างกันแต่ที่น่าสนใจคือของฮอร์นบีและไนดาที่แยกประโยคพื้นฐานไว้ใน The Advanced Learner’s Dictionary of Current English ไว้ 25 รูปแบบ โดยคือตามหน้าที่และความนิยมในการใช้คำกริยาหลักซึ่งมีรูปแบบดังนี้
VP 1     Vb + Direct Object
                                He cuts his finger.
VP2      Vb + (not) to + Infinitive, ect.
                                He wants to go.
VP3      Vb + noun or pronoun + (not) to + Infinitive, ect.
                                John likes his wife to dress well.

การแปลบันเทิงคดี (The Translation of Literary Work)

การแปลบันเทิงคดี (The Translation of Literary Work)
1.            องค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดี
เป็นงานเขียนที่มีเนื้อสาระและความจริงเล็กน้อยโดยผู้เขียนจะเสริมเติมแต่งความคิดเห็นความรู้สึกของตนเองลงไป โดยที่จุดประสงค์หลักของผู้เขียนก็คือให้ผู้อ่านเกิดความบันเทิง ดังนั้นงานเขียนประเภทนี้เป็นการผสมผสานระหว่างความจริงและจินตนาการของผู้เขียน ประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ประการ คือองค์ประกอบทางด้านภาษา และองค์ประกอบที่ไม่ใช่ภาษา อย่างเช่นอารมณ์ความรู้สึก

การถ่ายทอดตัวษร

การถ่ายทอดตัวษร
                การถ่ายทอดตัวอักษรหมายถึงการนำคำในภาษาหนึ่งมาเขียนด้วยตัวอักษรของอีกภาษาหนึ่งโดยพยายามให้การเขียนในภาษาใหม่นี้ถ่ายทอดเสียงของคำในภาษาเดิมให้ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะทำได้การถ่ายทอดตัวอักษรมีบทบาทในการแปลจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่งในกรณีต่อไปนี้
                1 เมื่อในภาษาต้นฉบับมีที่ใช้แทนชื่อเฉพาะของสิ่งต่างๆเช่นชื่อคนชื่อสถานที่ชื่อภูเขาแม่น้ำหรือแม้แต่ชื่อสถาบันต่างๆ
                2 เมื่อคำในภาษาต้นฉบับมีความหมายอ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรมที่ไม่มีในสังคมของภาษาฉบับแปลจึงไม่มีคำเปรียบเทียบได้เช่นคำที่ใช้เรียกต้นไม้ซับและกิจกรรมบางชนิดความคิดในกรณีนี้ พูดเลยอาจแก้ปัญหาได้สองประการคือ

กระบวนการแปล (Process of Translating)

กระบวนการแปล  (Process of Translating)
                  งานแปลในยุคโบราณเป็นการแปลทางศาสนา และการแปลวรรณกรรมด้วยภาษาที่สละสลวย ในยุคโบราณนั้นงานแปลส่วนใหญ่เป็นงานของชนชั้นสูงและผลงานของผู้ที่มีความสามารถพิเศษ ดังนั้นจึงมีการคิดค้นหาวิธีการที่จะทำให้งานแปลมีคุณภาพและเป็นวิธีที่คนทั่วไปปฏิบัติได้ นักวิชาการด้านการแปลได้ศึกษาวิธีการนักแปลมืออาชีพใช้ แล้วนำมาจัดเป็นขั้นตอนที่นักแปลมือใหม่จะทำตามได้ เรียกว่าเป็น กระบวนการแปล
1.              รูปแบบกระบวนการแปลของ Roger T. Bell
กระบวนการแปลประกอบด้วย 2 กระบวนการหลัก คือ 1 Analysis การแปลวิเคราะห์ต้นฉบับ และ Synthesis การสังเคราะห์ความหมายเป็นภาษาฉบับแปล
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ (Analysis)
·       การวิเคราะห์โครงสร้าง เป็นขั้นตอนแรกในการแปลคือ การอ่านต้นฉบับในระดับอนุประโยค
·       การวิเคราะห์เนื้อหา ในขั้นตอนนี้เป็นการใส่เนื้อหา ให้กับโครงสร้างที่มาจากขั้นตอนที่แล้ว
·       การวิเคราะห์การใช้ภาษา มี 2 ขั้นตอน คือ
-แยกเนื้อหาหลัก และ วิเคราะห์ลีลาภาษา
ขั้นตอนที่ 2 การสังเคราะห์ (Syntactic)
·       Pragmatic Syntactic ในขั้นตอนนี้จะใช้ข้อมูล เพื่อพิจารณาว่าจะรักษาหรือเปลี่ยนแปลง ต้นฉบับในด้านความมุ่งหมาย และลีลาภาษา
·       Semantic Synthesis ดำเนินการสร้างโครงสร้างที่บรรจุเนื้อหาของข้อความ
·       Syntactic Synthesis ขั้นตอนนี้จะตรวจสอบความเหมาะสมของความหมาย เพื่อเรียบเรียงข้อความในภาษาแปล

Relations between ideas

 Relations between ideas
เรียงความ(Essay) เป็นทักษะการเขียนที่แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ซึ่งมีรูปแบบและวิธีการเขียนที่มีแบบแผน เป็นการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกของตนออกมาเป็นตัวอักษร เพื่อให้ผู้อ่านเกิดการรับรู้หัวใจหลักของการเขียนเรียงความอยู่ที่รูปแบบโครงสร้าง
โครงสร้างของ Essay ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่
1. Introduction: เป็นย่อหน้าแรกของ Essay ใช้ในการเปิดเรื่อง Introduction ที่ดี ควรจะสามารถดึงดูดใจให้ผู้อ่านสนใจและอยากจะอ่าน Essay ของเราต่อจนจบ
2. Body : ย่อหน้าถัดไปของ Essay เป็นส่วนของเนื้อหาที่เราต้องการจะกล่าวเพื่อสนับสนุน Thesis Statement ของเรา ในส่วนเนื้อหาจะต้องมีใจความหลักหรือ ‘Main idea’ ในทุกๆ ย่อหน้า และในแต่ละย่อหน้านั้น จะมีเพียง ‘Main idea เดียวเท่านั้น โดยแต่ละ Main Idea จะต้องสอดคล้องกับ Thesis Statementด้วย

รูปแบบการเขียน

รูปแบบการเขียน
                รูปแบบการเขียน หมายถึง การเรียบเรียงเนื้อหาในการเขียน จะมีโครงสร้างที่เป็นแบบแผน ซึ่งมีองค์ประกอบที่ใช้การเขียน  รูปแบบการเขียนนั้นจะมีความ แตกต่างกันออกไปตามจุดประสงค์
จุดประสงค์ในการเขียน
                1.     เพื่อเล่าเรื่อง บอกเรื่องราวต่างๆจากประสบการณ์
                2.     เพื่อแสดงความคิดเห็นและแนะนำ
                3.     เพื่ออธิบายให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ
                4.     เพื่อจดบันทึกการฟัง การดูและการอ่าน จากสื่อต่างๆ
                5.     เพื่อการวิเคราะห์
                6.     เพื่อการวิจารณ์
                7.     เพื่อสร้างจินตนาการและความบันเทิง
                8.     เพื่อการโฆษณา ชักจูงใจ เชิญชวน และประกาศแจ้ง
                9.     เพื่อประโยชน์ในการเรียน
                10.  เพื่อการใช้ในชีวิตประจำวัน

ลมหายใจปลายด้ามขวาน (ต้นฉบับ)

พื้นที่สีแดง ชายแดนด้ามขวาน
พี่น้องเราเดือดร้อนมานาน
ด้วยอุดมการณ์ แยกดินแบ่งฟ้า
ปักษ์ใต้บ้านเรา
บัดนี้เงียบเหงา ไร้เสียงบินหลา
ใครๆเขาไม่อยากมา
ลูกหลานถามว่า ฆ่ากันทำไม
ชาวบ้านผู้คน
เสียงหวีดร้อง เลือดนองถนน
ระเบิดปืนกล ของคนฝ่ายไหน
อีกกี่ชีวิต
ต้องปิดสังเวย เฉลยได้ไหม
วันที่ท้องฟ้าสดใส
ลูกหลานจะได้ ยิ้มด้วยความหวัง
ขวานไทยถ้าไม่มีด้าม
คงหมดความงาม ไม่มีพลัง
แล้วจะร้องเพลง
ปักษ์ใต้บ้านเรา ให้ใครเขาฟัง
บินหลาก็คงสิ้นหวัง
เกาะต้นยางฟัง เสียงปืนดังไกล
ระแวงสายตา
แล้วทำไมไม่หันหน้ามา
พูดคุยปรึกษา ปัญหาแก้ไข
ใต้ร่มฉัตรงาม ลูกพ่อสยาม
เราสายเลือดไทย
เนื้อเพลงลมหายใจปลายด้ามขวาน
อยากถามว่านานแค่ไหน
คืนลมหายใจ ให้ปลายด้ามขวาน
ขวานไทยถ้าไม่มีด้าม
คงหมดความงาม ไม่มีพลัง
แล้วจะร้องเพลง
ปักษ์ใต้บ้านเรา ให้ใครเขาฟัง
บินหลาก็คงสิ้นหวัง
เกาะต้นยางฟัง เสียงปืนดังไกล

ข่าวการศึกษา (ฉบับแปล)

Prayut Chan-o-cha Prime Minister Dictates that Ministry of Education The Law made it clear that government supports education since. 1 to 6 m., So that people are confident that the government will continue to support free education till m., And the vocational. Like it. MD. Tatiyakavee emit Secretary of Education revealed DownPong Ratanasuwan minister of Education. MOE has signed the declaration. The support costs of providing education from kindergarten to graduate basic effective . In essence, argues that the cost of providing education. Referring to the state budget allocated to education for the cost of providing education to the graduate of five basic items, including the instruction. The textbooks The school supplies Uniforms Activities and the quality of the students. The basic education, including pre-primary, primary and secondary education, both general and vocational education.

ข่าวการศึกษา (ต้นฉบับ)

เครื่องยืนยันรัฐยังหนุน 15 ปี พร้อมโอบอุ้มเด็กพิเศษและด้อยโอกาส
ที่มา : โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 25 พ.ค. 2559 05:45

ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทำกฎหมายให้ชัดเจนว่ารัฐบาลสนับสนุนการศึกษาตั้งแต่ป.1 ถึง ม. 6 เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจว่ารัฐบาลจะยังสนับสนุนการศึกษาฟรีจนถึง ม.ปลาย และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เหมือนเดิมนั้น นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ได้ลงนามในประกาศ ศธ.เรื่อง การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อประกาศใช้แล้ว โดยสาระสำคัญระบุว่าค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา หมายถึงงบประมาณที่รัฐจัดสรรให้สถานศึกษาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 รายการ ได้แก่ ค่าจัดการเรียนการสอน ค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน และค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ส่วนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาทั้งสามัญและอาชีวศึกษา

พลิกมุมคิด (ฉบับแปล)

"Supachai Chearavanont," the CEO of True", in topic "The winner is determined the game" of the national businessmen said that who was not common. The ball didn’t fall from the tree, but a "lace" that fell far from everything as well as strong. At this time I felt So So. But  I thought of "Supachai". I felt So So, "Supachai" on stage today. He changed even to me, although we had same last name, but different the pockets money .I can’t fight him. If a good measure from accountability. I think I was very lucky people . "Supachai" was a child of "Dhanin Chearavanont" Dhanin greatness of the CP . It was thought that the "Aberdeen", continued to work comfortably, but,"Dhanin" a businessman who has different from other businesses. He would not give them to an organization for the success of CP.  "Dhanin" used to say that if you come to work in the CP. If the good is not working poor,

พลิกมุมคิด (ต้นฉบับ)

พลิกมุมคิด
มีโอกาสได้ฟัง ศุภชัย เจียรวนนท์ซีอีโอของ ทรูแบบใกล้ๆ ในการเสวนาเรื่อง ผู้ชนะคือผู้กำหนดเกมของ ประชาชาติธุรกิจบอกได้เลยว่า คนนี้ไม่ธรรมดา ไม่ใช่เป็นลูกไม่ที่หล่นไม่ไกลต้น แต่เป็น ลูกไม้ที่หล่นไกลต้น เจอทั้งแดด ทั้งลม ทั้งแมลง ฯลฯ จนแข็งแกร่ง นึกถึงเมื่อครั้งที่นั่งฟัง ศุภชัยบนโต๊ะอาหาร ๒-๓ ครั้ง ตลอดระยะเวลาที่เขามารับตำแหน่งนี้ สารภาพตามตรงว่าตอนนั้นรู้สึกเฉยๆ แต่มาเจอ ศุภชัยบนเวทีวันนี้ เขาเปลี่ยนไปเยอะมาก มีพัฒนาการระดับแขย่งก้าวกระโดดเลยครับ แม้ผมกับ ศุภชัยจะมีนามสกุลลงท้ายด้วย นนท์เหมือนกัน แต่เงินในกระเป๋าต่างกันราวกับฟ้าดิน ถ้าวัดความโชคดีจากเงินในกระเป๋า ผมคงสู้ ศุภชัยไม่ได้ แต่ถ้าวัดความโชคดีจากภาระรับผิดชอบ ผมช่างเป็นคนที่โชคดีเหลือเกิน คิดดูสิครับ ศุภชัยเป็นลูกของ ธนินท์ เจียรวนนท์เจ้าสัวซีพี เห็นชื่อคุณธนินท์และความยิ่งใหญ่ของซีพีแล้ว ใครๆก็คิดว่า ศุภชัยคงทำงานอย่างสบายๆ แต่ ธนินท์เป็นนักธุรกิจที่มีวิธีคิดเรื่อง ลูกแตกต่างจากนักธุรกิจคนอื่น เขาจะไม่ให้ลูกเข้ามารับผิดชอบในองค์กรที่ประสบความสำเร็จแล้วอย่างซีพี ธนินท์เคยบอกว่าถ้าลูกมาทำงานในซีพี ถ้าฝีมือไม่ถึง หรือทำงานไม่ดีก็ไม่มีใครกล้าว่า แต่ถ้าทำงานสำเร็จได้รับเลื่อนตำแหน่ง ก็ถูกครหาว่าเพราะ นามสกุลเขาจึงให้ลูกเริ่มต้นทำงานในองค์กรใหม่สำเร็จหรือล้มเหลวให้วัดกันด้วยผลงาน ศุภชัยจึงต้องเริ่มต้นทำงานที่ เทเลคอมเอเชียหรือ ทรูแต่ตอนที่ ธนินท์เล่าถึงวิธีการเลี้ยงลูก เขาไม่ได้บอกว่าการบุกเบิกองค์กรใหม่จะหนักหนาสาหัสขนาดนี้ขนาดไหนหรือครับ ขนาดที่ผมรู้สึกว่าโชคดีกว่า ศุภชัย