วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 11 (in class)

Learning  Log  11
(in class)
สังคมไทยในปัจจุบันมีภาษาต่างประเทศเข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในรูปแบบต่าง ๆ  ในห้องเรียน  ภาษาที่อิทธิพลต่องานแปลในภาษาไทย  คือ  ภาษาอังกฤษนั่นเอง  ซึ่งงานแปลในภาษาอังกฤษนั้นจะเป็นแปลให้เป็นภาษาไทย  มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยคามรู้เกี่ยวไวยากรณ์  Grammar  ซึ่งสำหรับวิชาอังกฤษนั้น  ซึ่งไวยากรณ์นั้นจะมีประโยชน์ต่อการแปลภาษาอังกฤษ  เพราะเป็นการเชื่อมโยงไวยากรณ์สู่การแปลภาษาที่มีเหตุผลและหลักการต่าง ๆ เข้าใจง่ายและถูกต้องในความหมายที่แปล  ดังต่อไปนี้เราจะกล่าวถึง  เรื่องการแปลข่าว  ซึ่งเป็นเรื่องที่เราควรเรียนรู้  เพราะเป็นการใช้แกรมม่าในการเขียนข่าวในหลาย ๆ ประเภท  รวมไปถึง  phrose  และ  clause  หรือ  sentence  ที่สำคัญเราต้องมีความรู้ในส่วนของคำศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเขียนข่าว  และหลักการใช้  Tense  ต่าง ๆ ในการเขียนข่าวเช่นกัน  ซึ่งในการเรียนรู้เรื่องการแปลข่าว  เราได้เรียนรู้ลักษณะของการพาดหัวข่าว  การเขียนประโยคในข่าว  คำศัพท์และตัวย่อต่าง ๆ ในการเขียนข่าว  รวมไปถึงการแปลประโยคเป็นภาษาไทย  และการสร้างประโยคจากภาษาไทย  เป็นภาษาอังกฤษ  ซึ่งเราสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการแปลข่าว  หรือการแปลข่าวและการสร้างประโยคในข่าว  มาเชื่อมโยงในการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย  และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ  ซึ่งในการแปลข่าวเป็นภาไทยนั้นต้องใช้ภาษาที่สั้น  กระชับ  และรัดกุม  ซึ่งเมื่อเราได้เรียนรู้ในเรื่องนี้แล้วเราสามารถที่จะแปลข่าวออกมาโดยการใช้ภาษาที่สละสลวย  และเมื่อเราพาดหัวข่าวได้สั้นและน่าสนใจทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ  ติดใจ  และเกิดความประทับใจที่จะติดตามข้อมูลของข่าวนั้น ๆ ต่อไป

การแปลข่าว  ซึ่งก่อนที่เราจะแปลข่าวได้นั้นเราต้องเรียนรู้ก่อนว่าข่าวมีส่วนประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญ  อะไรบ้าง  ซึ่งข่าวจะมีส่วนประกอบหลัก ๆ ที่สำคัญ  ๆ คือ  ข่าวประกอบด้วย  ส่วน  คือ  หัวข่าวและตัวข่าว  ซึ่งหัวข่าวนั้นเราจะเปรียบเทียบได้กับชื่อหัวข้อของข่าว  หรือชื่อเรื่องของงานเขียนอื่น ๆ และในส่วนที่เป็นตัวข่าวนั้นจะแบ่งออกเป็นประเภทย่อย ๆ ได้  ประเภท  คือ  ส่วนที่  เนื้อข่าวโดยย่อ ๆ และที่มาจากข่าวโดยทั่วไป  ซึ่งจะรวมอยู่ในย่อหน้าเดียวกัน  และส่วนที่  คือ  เนื้อหาหรือข้อมูลของข่าวโดยละเอียด  ซึ่งอาจจะมีมากกว่า  ย่อหน้าก็ได้  ซึ่งงานเขียนข่าวนั้นจัดอยู่ในงานเขียนประเภทอรรถสาร  จะมีลักษณะข้อมูลและการใช้คำศัพท์ที่มีความเฉพาะด้าน  และมีการใช้โครงสร้างของคำและประโยค  ซึ่งจะมีความซับซ้อนในประโยคและจะมีการเรียงลำดับความยากง่าย  เพราะว่าข่าวนั้นเป็นงานเขียนสำหรับผู้อ่านที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่  สติปัญญา  ทัศนคติ  และรวมไปถึงการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งแต่ละคนจะมีการศึกษาแตกต่างกัน  ดังนั้นการแปลข่าวจึงมีลักษณะกรแปลข่าวแบบเอาความหรือ  free  transtation  นั่นเอง  ซึ่งในการเขียนข่าวนั้นไม่ว่าจะใช้ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  หรือภาษาอื่น ๆ นั้น  แต่ละนั่นเอง  ซึ่งในการเขียนข่าวนั้นไม่ว่าจะใช้ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  หรือภาษาอื่น ๆ นั้น  แต่ละภาษาที่ใช้ในการเขียนข่าวจะมีการใช้คำศัพท์ที่เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละภาษาซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไป  รมไปถึงโครงสร้าง  รูปแบบวลีและรูปแบบประโยคจะมีความแตกต่างกันออกไป  เมื่อเราพูดถึงการแปลข่าวจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ  ผู้แปลนั้นจะต้องนำหลักการและลักษณะของการเขียนพาดหัวข่าวภาษาอังกฤษ  และในทางกลับกันนั้น  การแปลข่าวจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยนั้นผู้แปลจะต้องมีการใช้หลักการและลักษณะของการเขียนพดหัวข่าภาษาไทย  สิ่งสำคัญที่ผู้แปลนั้นจะต้องมีความคำนึงถึงหลักการในการพาดหัวข่าวจะมีลักษณะสำคัญ ๆ   2   ลักษณะ  คือ  1.  ลักษณะการใช้ภาษาที่ถูกต้อง  จะเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างและการใช้คำศัพท์  และ  2.  คือความสั้นยาวของหัวข่าว
                                ต่อไปจะพูดในเรื่องของโครงสร้างของหัวข่าวภาษาไทย  ซึ่งจะมีรูปแบบการเรียงคำในหัวข่าวของภาษาไทยจะแบ่งออกเป็น  แบบ  ดังนี้  1.  นามวลี  noun  phrase  ในประเภทนี้จะมีตัวอย่างให้เห็นน้อยมาก  ตัวอย่างเช่น   สภาพตลาดหุ้นวอลสตรีวันนี้  ในประเภทที่  คือ  ประโยค  ซึ่งในประเภทนี้จะมีโครงสร้างประโยคที่เป็นหัวข่าวจะแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ที่สำคัญ  ประการ  คือ  1.  ประธาน กริยา  กรรม  ในส่วนที่เป็นกรรมนั้นอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้  เราต้องพิจารณาจากกริยาว่ากริยานั้นต้องการกรรมหรือไม่  ตัวอย่างเช่น  น้ำท่วมกรุง  2.  ประธาน  กริยา  กริยา  กรรม  ซึ่งกริยาทั้งสองตัวนั้นเป็นกริยาที่มีความสำคัญของประโยค  ซึ่งจะเป็นภาคแสดงที่บ่งบอกถึงการกระทำของประธานตัวเดียวกัน  ซึ่งเราอาจจะใส่เครื่องหมาย  -  ใช้ระหว่างกริยาทั้ง  ตัวหรือไม่ใส่ก็ได้  ตัวอย่างเช่น  โจรดี  ฟันเกจิอาจารย์ไม่เข้า  3.  กริยา  กรรม  โครงสร้างประโยคนี้จะอยู่ในกรณีที่ประธานไม่ค่อยสำคัญ  เพราะว่าหัวข่าวของสิ่งที่เกิดขึ้น  หรือผู้อ่านนั้นจะมีการคาดเดาได้จากข้อความในข้อข่าวว่าประธานนั้นเป็นใคร  เราอาจจะละประธานไว้ได้  ตัวอย่างเช่น  สิ่งเตรียมพร้อมตำรวจชายแดนเต็มอัตราศึก  4.  ประโยคเดี่ยวเรียงกัน  หรือ  ประโยค  ตัวอย่างเช่น  ตื่นของถูก  เข้าคิวซื้อ  วุ่นทั้งกรุง  5.  คำขึ้นต้นหัวข่าด้วยคำว่า    คาด  ”  “  ว่า  ”  “  คาดว่า  ”  “  ว่ากันว่า  ”  และตามด้วยประโยค  เช่น  คาดปัญหาน้ำมันเข้าที่ประชุม  ค..วันนี้
                                ย่อหน้านี้เราจะกล่าวถึงเรื่องของโครงสร้างของหัวข่าวภาษาอังกฤษ  ในส่วนของตัวข่าวภาษาอังกฤษจะไม่มีการใช้เครื่องหมาย  (.)  เพื่อบ่งบอกในการจบประโยค  เราจะไม่มีการใช้เครื่องหมายแต่จะมีการใช้เครื่องหมายขาวเครื่องหมายคือ  เครื่องหมายคำถามและเครื่องหมายตกใจ  บ้างเล็กน้อยในการเขียนหัวข่าว  จะแบ่งออกเป็นลักษณะที่สำคัญ ๆ   ลักษณะ  ดังนี้  ก็คือ
                (1)  นามวลี  ในโครงสร้างประโยคแบบนี้จะเป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด   ซึ่งโครงสร้างของนามวลีจะมีมากมายหลายรูปแบบ    ดังนี้  คือ  (1.1N  +  V.ing  เช่น  Exports  qaining  speed  (1.2)   N  +  V.ed  รูป  V.ed  P  เป็นรูปที่ตัดมาจากกริยารูปกรรมวาจกซึ่งในโครงสร้างแบบนี้จะบอกว่าประธานนั้นเป็นผู้รับผลของการกระทำ  เช่น  Thai hold  in  Malaysia  (1.3)  N  +  Prep  P.  เช่น  Major  cuts  in  budget  (1.4)  N  +  to  V.P  รูปของ  to  V.P.  เป็นรูปที่ตัดมากจาก  is  (am,are)  to  Verb  ซึ่งในโครงสร้างแบบนี้จะบอกว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้น  เช่น  Cement  export  to  begin  this  month
                (2)  ประโยคเดี่ยว  ในโครงสร้างแบบนี้จะมีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญ  ดังนี้  คือ  ภาคประธาน  และภาพแสดง  ซึ่งในการเขียนประโยคประเภทนี้จะมีความแตกต่างจากภาษาเขียนธรรมดา  คือ  กริยาของประโยคแบบนี้จะใช้ในรูปของปัจจุบันกาล  (Present  Tense)  เสมอ  a  ,  an  ,  the  และ  ’s  ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้  และเมื่อจบประโยคก็ไม่ต้องมีเครื่องหมายประโยค  (.)  เช่น  Son  Sann  may  lose  Thai  backing    และในประเภทสุดท้ายคือ  (3)  รูปประโยคที่ตัดคำพูดมาลง  ซึ่งจะแบ่งออกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ที่สำคัญ ๆ ได้  แบบ  คือ
-  Borg  -  “  J’  ll  quit  after  Wimbledom  ”
-  Borg  :  “  J’  ll  quit  after  Wimbledom  ”
-  “  J’  ll  quit  after  Wimbledom  ”  -  Borg
-  “  J’  ll  quit  after  Wimbledom  ”  ,  Borg
-  “  J’  ll  quit  after  Wimbledom  ”  ,  says  Borg
                เครื่องหมายคำพูด  (“      ”)  อาจจะตัดออกไปหรือไม่ก็ได้  *
                                ต่อไปนั้นเราจะพูดในหัวข้อเรื่อง  การแปลหัวข่าวทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ซึ่งผู้แปลนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องนำโครงสร้างประโยคของหัวข่าวในต้นฉบับมาใช้ฉบับแปล  ซึ่งผู้แปลจะต้องจับใจความสำคัญ ๆ ให้ได้ว่า   ใคร  ทำอะไร  จากหัวข่าวต้นฉบับ  แล้วผู้แปลจะต้องมีการนำมาถ่ายถอดในรูปแบบของโครงสร้างประโยคของฉบับแปล  ซึ่งในส่วนนี้จะพูดถึงเรื่องการเปรียบเทียบโครงสร้างหัวข่าวภาษาอังกฤษกับภาษาไทย  ซึ่งจะใช้เป็นแนวทางในการแปล  จะมี  ลักษณะ  คือ



(1)  ภาษาอังกฤษ  :                            +  N  +  V.ed  P.    ภาษาไทย    กริยา   (คำถาม)
                                                          +  N  +  V  +  N
ตัวอย่างประโยค  -  Gas  price  incrcased  11  satang  per  litre.
                                    พิจารณาราคาน้ำมันขึ้นลิตรละ  11  สตางค์
                                -   Uriversity  entrance  dates  announced.
                                    กำหนดวันสอบเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว



(2.)  ภาษาอังกฤษ  :                           +  N  +  V.ing  P.                       ภาษาไทย  คำถาม  กริยา  คำนาม
                                                          +  N  +  To  V.P.
ตัวอย่างประโยค  -  Japan  willing  to  buy  more  rice.
                                    ญี่ปุ่นจะซื้อข่าวเพิ่ม
                                -  Kukrit  to  return  to  politics.
                                   คึกฤทธิ์จะกลับเข้าเล่นการเมืองอีก

(3.)  ภาษาอังกฤษ    N  +  V   +  N     ภาษาไทย  คำนาม  กริยา  คำนาม
ตัวอย่างประโยค  -  Dockard  workers  stagc  work  halt.
                                    คนงานกลมอู่นับร้อยไม่ยอมเข้าทำงาน
                                -  Planters  ,  millers  laud  gort  a  sugar  dicision.
                                   ชาวไร่อ้อย  เจ้าของโรงงานน้ำตาลพอใจนโยบาลน้ำตาลของรัฐบาล

                และในรูปแบบสุดท้ายคือ  (4.)  ภาษาไทย                 ว่า                                  ecpected

                                                                                                  คาดว่า + ประโยค          N + said + To  V
                                                                                                  ว่ากันว่า                          believed
ตัวอย่างประโยค  คาดว่าราคาทองจะเริ่มลด
                                    Gold  prices  ecpected  to  go  down.
                                -  1982  trade  ecpected  to be  worsen.
                                    คาดว่าการค้าในปี  1982  จะลดลง
                                ในหัวข้อต่อไปที่เราจะกล่าวถึง  นั่นคือ  การแปลในส่วนของตัวข่าว  ซึ่งจะมีหลักการต่าง ๆ ที่สำคัญ ๆ ดังนี้  (1)  โครงสร้างของตัวข่าว  ซึ่งทั้งทางภาษาไทยและภาษาอังกฤษนั้นจะมีความเหมือนกัน  คือ  ในย่อหน้าแรกขิงตัวข่าวจะเป็นข่าวโดยการสรุปย่อ  และจะมีการบอกถึงแหล่งที่มาของข่าวด้วย  และย่อหน้าถัดไปจะประกอบด้วยรายละเอียด  ซึ่งการแปลในส่วนของตัวข่าวที่ว่าจะเป็นไปตามโครงสร้างของประโยค  แต่ในการแปลข่าวนั้นจะมีข้อจำกัดในส่วนของเนื้อหาที่หน้ากระดาษ  ซึ่งความยาวของฉบับแปลอาจจะน้อยกว่าต้นฉบับก็ได้  (2)  รูปประโยคและการใช้กริยา   ในการแปลข่าวเป็นภาษาอังกฤษจะเป็นการใช้โครงสร้างประโยคแบบสั้น  จะไม่มีส่วนขยายที่มีความซับซ้อนเกินไป  ในส่วนของภาคแสดงในประโยคภาษาอังกฤษนั้นจะใช้เป็นอดีตกาล  หรือ  past  tense  นั่งเอง  (3)  การใช้คำศัพท์ซึ่งเป็นคำศัพท์เฉพาะในการรายงานข่าวหนังสือพิมพ์  ซึ่งคำศัพท์ในการเขียนข่าวนั้นจะมีการใช้คำศัพท์ที่เป็นคำศัพท์เฉพาะในตัวของมันเอง  ส่วนมากจะเป็นคำที่สั้น  แต่ในหลาย ๆ กรณีมักจะมีความหมายแฝง  (connotative)  ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกรุนแรง  และตื่นเต้น  ในการแปลข่าวจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่ง  ซึ่งผู้แปลจะต้องมีความรู้ในส่วนของความหมายของคำศัพท์ที่ใช้ในการรายงานข่าวในภาษาต้นฉบับ  และจะต้องใช้คำศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการรายงานข่าวในภาษาฉบับแปลด้วย































                                นอกจากได้เรียนรู้ในส่วนของเนื้อหา  หัวข่าว  และเนื้อข่าว  และรวมไปถึงการใช้โครงสร้างประโยคในแบบต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  และได้รู้ในความเหมือนและความต่างของโครงสร้างประโยค  และคำศัพท์ต่าง ๆ และในส่วนนี้จะกล่าวถึงในเรื่องของคำศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเขียนข่าว  ตัวอย่างคำศัพท์ในรายงานข่าวภาษาไทย  จะมีตัวอย่างคำศัพท์ที่ควรรู้  คือ  ทลาย     กำจัดให้หมดไป     destroy  ,  บุก       เข้าไป       raid  ,  โวย       ฟ้อง       complain  ,  รวบ       จับกุม       arrest  ,  ศึก       การทะเลาะ       war  ,  คงที่       สิ้นชีวิต         dead  on  spot  ,  จ่อหัว       ถูกยิงที่หัว         shot  at  head  ,  เรียงคิว       คนหลายคนผลัดกันข่มขืน       gang  raping  ,  ดัง       มีชื่อเสียง       popular  ,  โหด       อย่างทารุณ       cruelly  ,  ...       คณะรัฐมนตรี       Cabinet  ซึ่งในการเขียนข่าวภาษาไทยนั้น  มีระเบียบการเขียนเรียงคำจะไม่นิยมมาใส่ในงานเขียนประเภทอื่น ๆ   และในส่วนของตัวอย่างในคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ  คือ  hit       strike  ,  attack  ,  or  come  ,  aqainst  something  with  force       จู่โจม  โจมตี  ,  held       captured  ,  arrested         ยึด  จับ  จับกุม  ,  accord       agreement       ข้อตกลง  ,  probe       investigate       สืบสวน  ,  to  OK       to  approve       อนุมัติ  ,  govt       government       รัฐบาล   นอกจากจะได้รู้ในส่วนของคำศัพท์แล้ว  ก็ได้เรียนรู้ในส่วนของตัวย่อคือ  S’  pore       Singapore       สิงคโปร์  ,  PM       The  Primeminister       นายก  ,  MP       member  of  parliament       นายก  ,  trio       three  persons       สามคน  สามสหาย

                                จากการเรียนรู้ในห้องเรียนครั้งนี้  ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ในส่วนของการแปลข่าวและการใช้โครงสร้างประโยคทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ซึ่งแต่ละภาษานั้นจะมีโครงสร้างประโยคในการเขียนข่าวที่มีความแตกต่างกันออกไป  และคำศัพท์ที่นำมาใช้ในการเขียนข่าวก็จะเป็นคำศัพท์เฉพาะด้านของแต่ละภาษา  ซึ่งเราสามารถทำความรู้ที่ได้ในครั้งนี้ไปปรับใช้ในการแปลในรูปแบบอื่น ๆ ไว้โดยการนำเทคนิคและหลักการต่าง ๆ ไปดัดแปลให้เกิดการเรียนรู้และเกิดประโยชน์สูงสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น