Learning Log 6
(out
class)
ในสังคมไทยปัจจุบันนั้นคนไทยทุกคนควรมีการฝึกทักษะหลาย
ๆ ทักษะเพื่อทำคามเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามได้ถูกต้อง
และที่สำคัญควรเป็นการฝึกทักษะในภาษาอังกฤษ ซึ่งการฝึกทักษะการฟังในภาษาอังกฤษ
ถือด่าทักษะการฟังนั้นเป็นทักษะที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าทักษะการอ่านและทักษะการเขียน
เนื่องจากทักษะการฟังนั้นจำเป็นมากในการสื่อสารสนทนากับชาวต่างชาติให้ชาวต่างชาตินั้นมีคามเข้าใจในสิ่งที่เราพูดมากขึ้น
และทักษะการฟังภาษาอังกฤษนั้นมีคามจำเป็นต่อคนไทยเป็นอย่างมาก
เนื่องจกสังคมไทยปัจจุบันนั้นมีความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ มากมาย
ในหลาย ๆ ด้าน
น่าจะเป็นด้านการค้าขาย
เศรษฐกิจ ธุรกิจ เป็นต้น
ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีทักษะในการพูดเป็นอย่างมาก เพราะจะต้องมีการติดต่อสื่อสารในด้านต่าง ๆ
กับชาวต่างชาติเราจะต้องพูดสื่อสารให้ชาต่างชาติเข้าใจ
และอีกประเด็นหนึ่งที่ทักษะการฟังภาษาอังกฤษมีอิทธิพลเป็นอย่างมากคือ การประกอบอาชีพต่าง ๆ
เพราะจำเป็นต้องฟังชาวต่างชาติและสื่อสารสนทนาตอบกลับกับชาวต่างชาติได้อย่างถูกต้องและเข้าใจ
ซึ่งทักษะการพูดภาษาอังกฤษนั้นต้องอาศัยพฤติกรรมด้านการแสดงออก
ทักษะการพูดในภาษาอังกฤษนั้นจะเน้นแสดงออกพฤติกรรมออกมา
เนื่องจากคนไทยไม่ใช่ชนชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประวัน ทักษะการพูดภาษาอังกฤษจึงอาจเป็นทักษะที่ดูเหมือนค่อนข้างจะยาก
ในด้านของการออกเสียงหรือสำเนียงให้ถูกต้อง
แต่หากผู้เรียนมีความพากเพียรพยายามหมั่นฝึกฝนบ่อย ๆ ก็อาจสามารถทำได้ดีเช่นเดียวกัน แต่ถึงแม้ว่าจะออกเสียงสำเนียงผิดเพี้ยนไปบ้าง ผู้เรียนก็ควรให้ความสำคัญต่อการพยายามการสื่อสารให้ได้ความหมายมากที่สุด องค์ประกอบสำคัญ
นอกจากจะเป็นเรื่องของเสียงหรือสำเนียงแล้วนั้น จะได้แก่
คำศัพท์ต่าง ๆ ไวยากรณ์ต่าง ๆ
ระเบียบวิธีของความสัมพันธ์ระหว่างประโยค
ตลอดจนการใช้คำกริยาท่าทางในการประกอบท่าทางในการสื่อสาร เพื่อเพิ่มคามเข้าใจให้แก่ผู้ฟังมากขึ้น ซึ่งเราจะต้องมีการเรียนรู้เทคนิคต่าง ๆ
ในทักษะการฟังภาษาอังกฤษ
ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไรจึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ (Listening Skill)
การฟังในชีวิตประจำวันของคนเราจะเกิดขึ้นได้ใน 2
กรณี คือ การฟังที่ได้ยินโดยไม่ได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบ
ๆ ตัว ๆ ทั่วไป (Casual Listening)
และการฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย (Focused Listening)
จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการฟัง คือ
การรับรู้และทำความเข้าใจใน “สาร” ที่ผู้อื่นส่งความมาสู่เรา
ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง
ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไรจึงจะสามรถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
1. เทคนิควิธีปฏิบัติ
สิ่งสำคัญที่ครูผู้สอนควรพิจารณาในการสอนทักษะการฟังมี 2
ประการ
1.1 สถานการณ์ในการฟัง
สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการฟังภาษาอังกฤษได้นั้นควรเป็นสถานการณ์ของการฟังที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลองในห้องเรียนซึ่งอาจเป็นการฟังคำสั่งครู การฟังเพื่อนสนทนา การฟังบทสนทนาจากบทเรียน การฟังโทรศัพท์ การฟังรายการวิทยุ โทรทัศน์
วีดีทัศน์
1.2 กิจกรรมการนำเข้าสู่การฟัง ซึ่งแบ่งเป็น
3 กิจกรรม คือ
กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง (Pre
- listening) กิจกรรมระหว่างการฟังหรือขณะที่สอน (While - listening) และกิจกรรมหลักการฟัง (Post - listening) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิคดังนี้
* กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง (Pre - listening) การที่ผู้เรียนจะฟังสารได้อย่างเข้าใจควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่ได้รับฟัง
โดยครูผู้สอนอาจต้องใช้กิจกรรมทำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนการรับฟังสารที่กำหนดให้
เช่นการใช้รูปภาพอาจให้ผู้เรียนดูรูปภาพที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะได้ฟัง สนทนา
หรือ อภิปราย หรือหาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ
การเรียนรายการคำศัพท์เดิมที่รู้จัก
โดยใช้วิธีการเขียนบันทึกคำศัพท์ที่ได้ยินขณะรับฟังสารที่อ่านและรับฟังไปพร้อม
ๆ กับการอ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องราวในสารที่จะได้รับฟัง เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้รับฟังเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการรับฟัง และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการฟังสารนั้น ๆ
การทบทวนคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องอาจทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะปรากฏอีกในสารที่จะได้รับการฟัง
เป็นการช่วยทบทวนข้อมูลส่วนหนึ่งของสารที่จะได้เรียนรู้ใหม่จากการฟัง
* กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ
กิจกรรมขณะที่สอนฟัง (While
- listening) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่รับฟังสารนั้น กิจกรรมนั้นมิใช่การทดสอบการฟังแต่เป็นการ “ฝึกทักษะการฟังเพื่อความสนใจ” กิจกรรมระหว่างการฟังนี้ ไม่ควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่น
ๆ เช่น อ่าน หรือ
เขียน หรือ พูด
มากนัก
ควรจัดกิจกรรมประเภทต่อไปนี้
- ฟังแล้วชี้ เช่น
ครูพูดประโยคเกี่ยวกับวัตถุ
สิ่งของหรือสถานที่รอบตัวภายในชั้นเรียน
ผู้เรียนชี้สิ่งที่ได้ฟังจากประโยคคำพูดของครูฟังและทำเครื่องหมายบนภาพ เช่น
ผู้เรียนแต่ละคนมีภาพคนละ 1 ภาพ ในขณะที่ครูอ่านประโยคหรือข้อความ ผู้เรียนจะทำเครื่องหมาย X
ลงในบริเวณ
ภาพที่ไม่ตรงกับข้อความที่ได้ฟัง
- ฟังแล้วเรียงรูปภาพ เช่น
ผู้เรียนมีภาพชุด คนละ 1
ชุด ครูอ่านสาร ผู้เรียนเรียงลำดับภาพตามสารที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขใต้ภาพชุดนั้น
- ฟังแล้ววาดภาพ เช่น
ผู้เรียนมีกระดาษกับปากกาหรือดินสอ
ครูพูดประโยคที่มีคำศัพท์ที่ต้องการให้นักเรียนวาดภาพ เช่น
คำศัพท์เกี่ยวกับวัตถุสิ่งของ
สถานที่ สัตว์ ผลไม้
เป็นต้น นักเรียนฟังแล้ววาดภาพสิ่งที่เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้ฟัง
- ฟังแล้วจับคู่ภาพกับประโยคที่ได้ฟัง ผู้เรียนมีภาพคนละหลายภาพ ครูอ่านประโยคทีละประโยค
ผู้เรียนเลือกจับคู่ภาพที่สอดคล้องกับประโยคที่ได้ฟัง
โดยการเขียนหมายเลขลำดับที่ของประโยคใต้ภาพแต่ละภาพ
- ฟังแล้วปฏิบัติตาม ผู้สอนควรพูดประโยคคำสั่งให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้ฟังแต่ละประโยค
- ฟังแล้วแสดงบทบาท
ผู้สอนประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับบทบาทให้ผู้เรียนฟังแต่ละประโยคหรือข้อความนั้น
- ฟังแล้วเขียนเส้นทาง ทิศทาง
ผู้เรียนมีภาพสถานที่ต่าง ๆ คนละ 1 ภาพ
ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับเส้นทาง ทิศทาง
ที่จะไปสู่สถานการณ์ต่าง ๆ ในภาพนั้น
ให้ผู้เรียนฟัง
ผู้เรียนลากเส้นทางจากตำแหน่งสถานที่แห่งหนึ่งไปสู่ตำแหน่งต่าง ๆ
ตามที่ได้ฟัง
3. กิจกรรมหลังการฟัง (Post - listening) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการฟังแล้ว เช่น
อาจฝึกทักษะการเขียน
สำหรับผู้เรียนระดับต้น ๆ โดยให้เขียนตามคำบอก (Dictation) ประโยคที่ได้ฟังมาแล้วเป็นการตรวจสอบความรู้ ความถูกต้องของการเขียนคำศัพท์ สำนวน
โครงสร้างไวยากรณ์
ของประโยคนั้นหรือฝึกทักษะการพูด
สำหรับผู้เรียนระดับสูง
โดยการให้อภิปรายเกี่ยวกับสารที่ได้ฟัง
หรืออภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรืออคติของผู้พูด เป็นต้น
การสื่อสารในชีวิตประจำวันนั้นการฟังนับว่าเป็นทักษะรับสารที่สำคัญทักษะหนึ่งเป็นทักษะที่ใช้กันมากและเป็นทักษะแรกที่ต้องทำการสอนเพราะผู้พูดจะต้องฟังให้เข้าในเสียก่อนจึงจะสามารถพูดโต้ตอบอ่านหรือเขียนได้
ทักษะการฟังจึงเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ทักษะอื่น ๆ
ดังนั้นในการเรียนการสอน
นักเรียนจึงควรได้รับการฝึกฝนทักษะการฟังเพียงพอและจริงจัง
ทักษะการฟัง หมายถึง
ความสามรถในการจัดประเด็นใจความหลังจากที่ฟังได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนซึ่งเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน เพราะผู้เรียนต้องเข้าใจสาระสำคัญจากสิ่งที่พูดอารมณ์และความคิดเห็นผู้พูดและสามารถตอบสนองระบุความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดหรือบริบทของการพูดได้
คุณค่าของการฟังคือเป็นเรื่องสำคัญมาก
ๆ
ที่ทุกคนจะต้องฟังภาษาอังกฤษที่เหมาะสมกับระดับของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ภาษาควรจะง่ายสำหรับเด็กและอยู่ในระดับปัจจุบันหรือเหนือระดับที่เข้าใจได้แล้วเล็กน้อย ถ้าระดับยากเกินไปเด็กอาจจะสูญเสียความมั่นใจและทัศนคติด้านบวกได้
ข้าพเจ้าคิดว่า การสื่อสารในชีวิตประจำวันนั้น
การฟังถือว่าเป็นทักษะรับสารที่สำคัญทักษะหนึ่งเป็นทักษะที่ใช้กันมากและเป็นทักษะแรกที่ต้องทำการสอน เพราะผู้พูดจะต้องฟังให้เข้าใจเรียนรู้ทักษะอื่น
ๆ
ดังนั้นในการเรียนการสอนนักเรียนจึงควรได้รับการฝึกฝนทักษะการฟังอย่างเพียงพอและจริงจัง
ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังได้อย่างเข้าใจ และผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสื่อสารสนทนากับชาวต่างชาติได้ในชีวิตประจำวันหรือสถานการณ์จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น