Learning Log 14
(out class)
การอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษบูรณาการทักษะ
วันแรกของการอบรม (ช่วงเช้า)
สังคมไทยในปัจจุบันนี้มีรูปแบบการเรียนการสอนมากมายหลายรูปแบบ
ซึ่งการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบนั้นมีความเหมือนและแตกต่างกันออกไป
ซึ่งถ้าเราพูดถึงการเรียนการสอนนั้นเราจะต้องมีความรู้ในเรื่องของวิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ซึ่งในการจัดอบรมครั้งนี้อาจารย์ศิตา เยี่ยมบันติถาร ได้พูดในหัวข้อหลัก ๆ
ที่มีคำสำคัญและมีความจำเป็นต่อวิธีการสอนในรูปแบบต่าง ๆ คือ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่อดีต ,
การเรียนการสอนในศตวรรษที่
21 , กลวิธีการเรียนการสอนภาษาในปัจจุบัน แต่ในช่วงเช้าของการอบรมวันแรกที่อาจารย์ก็จะมีการเสวนาวิชาการงานวิจัย ในหัวข้อท่า
Beyond Language Learning
โดยมีอาจารย์ 3 ท่าน คือ ดร. สุจินต์ หนูแก้ว
, อาจารย์สุนทร บุญแก้วและ
ผศ. ตร
ประกาศิต สิทธิธิติกุล
ซึ่งอาจารย์แต่ละคนนั้นก็จะมีการให้ข้อมูลจากประสบการณ์จริงของท่านออกมาเพื่อที่จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดกัน
และจะได้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนของคนอื่นต่อไป
ในส่วนของอาจารย์สุนทร บุญแก้ว
ท่านได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการที่ท่านเขียนโครงการและเปลี่ยนความรู้ภาษาขึ้นเพื่อให้นักศึกษาปี 1 ในมหาวิทยาลัยของท่าน (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
ได้ไปเรียนรู้จากเจ้าของภาษาในสถานที่จริงจากประเทศของเจ้าของภาษานั่นเอง คือ
ประเทศสิงคโปร์
อาจารย์ได้อธิบายว่าในการเขียนโครงการนั้นเป็นเรื่องที่ยากและผู้ที่ทำโครงการได้นั้นต้องเป็นคนละเอียดรอบคอบ ใจเย็นและต้องมีสมาธิกว่าอาจารย์จะทำโครงการผ่านต้องมีอุปสรรคต่าง
ๆ มากมาย
แต่อาจารย์ก็อดทนจนทำโครงการได้สำเร็จและได้ส่งนักศึกษาปี 1
ไปเรียนรู้ภาษาจากเจ้าของภาษาเป็นเวลา 1
ปี
ไปเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในประเทศนั้น อาจารย์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ไปไหนมาไหนก็ต้องไปกันเป็นกลุ่ม
เพราะอาจารย์จะฝึกการทำงานร่วมกันและความรับผิดชอบด้วย
อาจารย์จะให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละกลุ่มนั้นร่วมกันแสดงความคิดเห็น และเมื่อปฏิบัติจากการตัดสินใจของสมาชิกในกลุ่มเอง
อาจารย์ได้บอกว่าการที่ให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นเป็นวิธีการสอนที่ดี
เพราะถ้านักเรียนได้มีการเรียนรู้ด้วยตนเองและได้คิดและลงมือปฏิบัติเอง
จะทำให้เด็กรู้จักการแก้ไขปัญหาและมีประสบการณ์โดยตรง และนักเรียนก็จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเรียนรู้
และการเรียนรู้ประเภทนี้ไม่ได้ให้นักเรียนเรียนรู้แต่เพียงเนื้อหา แต่ได้เรียนรู้ถึงการใช้วิชาชีวิตและวัฒนธรรมของชาวต่างชาติด้วย
ต่อมาในส่วนของอาจารย์ประกาศิต สิทธิธิติกุล
ซึ่งอาจารย์ก็จะเป็นผู้ดำเนินรายการในการเสวนา และในการเสวนาของอาจารย์ได้สรุปได้ว่า
หลักสูตรการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในยุคปัจจุบันนี่จะประกอบด้วยไปด้วย 5C โดย 5C
นั้นจะมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ (1)
communication
(การสื่อสาร) (2)
culture language (วัฒนธรรมของภาษา) (3)
connection language (การเชื่อมโยงไปสู่ภาษาอื่น ๆ
ทั่วโลก) (4) comparison
language (การเปรียบเทียบภาษา) (5)
local communication (ภาษาท้องถิ่นของแต่ละประเทศ) ซึ่งการเรียนรู้ภาษาที่ดีนั้นต้องมีการเรียนรู้ตามหลักสูตร ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
มันเกิดประโยชน์และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
และในส่วนของอาจารย์สุจินต์ หมูแก้ว
ท่านได้กล่าวในเรื่องของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพภายในปัจจุบันภายใน นั่นก็คือ
เรื่องของ 7C และอาจารย์สุจินต์ได้กล่าวในส่วนของเรื่องคุณลักษณะต่าง ๆ
ที่มีความจำเป็นในศตวรรษที่ 21 คือ ความสามารถพื้นฐานที่แต่ละบุคคลควรจะมี นั่นก็คือ
ในเรื่องของการอ่าน การเขียน และการคำนวณในรูปแบบต่าง ๆ แต่ในสังคมปัจจุบันนั้นผู้อ่านจะมีบุคลิกที่ขาดการคิดวิเคราะห์ ซึ่งตามหลัก
7C มีดังนี้ คือ (1) Critical
and Solution problem
(2) Creatively and
Innovation (3) Cultural
(4) computing and
listening ซึ่งในรูปแบบการสอนนั้นผู้สอนโดยส่วนมากจะรู้จัดเพียง Bloom
เพียงคนเดียว
ซึ่งจะมีการทำการคิดวิเคราะห์อยู่เหนือการประเมินค่าต่าง ๆ
เพราะเกิดจากสาเหตุที่สำคัญว่าการคิดสังเคราะห์สิ่งใหม่ ๆ
นั่นเป็นทักษะที่สูงสุดของความคิดบุคคล
ดังนั้นดิฉันสามารถสรุปได้ประเด็นความรู้ในการเสวนา ในหัวข้อ
Beyond Language
Learning ได้ดังนี้ คือ
การเรียนรู้ทางภาษาอังกฤษให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และมีคุณภาพ
นำไปสู่ความก้าวหน้าในอนาคตได้นั้นจะต้องมีการพัฒนาความคิดของบุคคลให้เกิดความคิดขั้นสูง ซึ่งจะมี
5 ขั้นตอน ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนแล้วจะประสบผลสำเร็จ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น