วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 8 (out class)

Learning  Log  8 
(out  class)
                                ในการเรียนวิชาแปลนั้นเราต้องมีความรู้พื้นฐานในวิชาภาษาอังกฤษในหลาย ๆ เรื่องเพื่อที่จะนำมาต่อยอดในการเขียนในงานต่อ ๆ ไป  เนื่องจากงานแปลที่ได้รับมอบหมายนั้นทำให้ฉันได้รู้ข้อบกพร่องของตนเองในการแปลงของฉัน  คือ  ดิฉันรู้คำศัพท์ไม่เพียงพอและไม่สามารถแปลความหมายให้เข้าใจได้  ดิฉันใช้คำและภาษาที่วกไปวกมา  และดิฉันไม่สามารถเรียงประโยคให้สละสลวยมีคามไพเราะและเขียนแปลความนวนิยายให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย  ดังนั้นทำให้ดิฉันคิดว่าควรทำอย่างไรเพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านการแปลเรื่องจากนวนิยายได้อย่างเข้าใจจึงทำให้ดิฉันอยากแปลนวนิยายออกมาให้ดี  มีภาษาที่สละสลวย  เข้าใจเรื่องได้ง่าย  ใช้คำไม่ซับซ้อน  ดิฉันจึงคิดว่าต้องมีความจำเป็นในการศึกษาการแปลความจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยซึ่งการแปลภาษาอังกฤษให้ถูกต้องนั้นเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากในการแปลภาษา  คือ  เทคนิคการเขียนประโยคสำหรับการแปล  หรือเราเรียกได้ว่า  การแปลอย่างเป็นระบบนั่นเอง  ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ประโยคว่าแต่ละประโยคนั้นมีส่วนประกอบอย่างไรบ้าง  จะมีประธาน  ส่วนประธาน  เพื่อทำให้การแปลคามเกิดความไพเราะ  และการแปลให้ไพเราะนั้นจะต้องอาศัยประสบการณ์ในเรื่องของการแปล  และจะทำให้เรามั่นใจได้ว่าหากว่าเรามีความรู้  วิธีการสร้างประโยคแล้วเราสามารถแปลงานภาษาอังกฤษได้  ดังนั้น  การมีเทคนิคในการแปลทำให้เกิดการแปลที่เป็นระบบและทำให้ได้งานแปลที่ดีและมีคุณภาพสูงสุด

                                ในเรื่องของเทคนิคการแปลจะต้องอาศัยขั้นตอนการแปลในส่วนแรกคือ  การหาส่วนประกอบที่เป็นประธานและเป็นส่วนประกอบ  เราจะแปลหรือเขียนแปลได้ดีนั้นจะต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องโครงสร้างไวยากรณ์เป็นอย่างดีและเข้าใจ  เพราะไวยากรณ์จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์และแยกแยะประโยคได้  เมื่อสามารถแยกแยะและวิเคราะห์ประโยคได้ก็จะสามารถรู้ด่าประโยคไหนควรแปลก่อนประโยคควรแปลหลัง  และแต่ละส่วนก็จะมีความสัมพันธ์กัน  จึงจะทำให้ได้งานที่แปลที่สละสลวย  และส่วนประธานอาจเป็นคำศัพท์คำเดียวหรือหลายคำก็เป็นไปได้  ถ้าส่วนประธานเป็นคำศัพท์คำเดียวหรือหลายคำก็เป็นไปได้  ถ้าส่วนประธานเป็นคำศัพท์คำเดียวก็จะหมายคามว่าคำศัพท์คำนั้นเป็นทั้งส่วนประธานและตัวประธานในตัวเดียวกัน  ในกรณีนี้ให้แปลประธานได้ทันที  แต่ถ้าส่วนประธานประกอบด้วยคำศัพท์หลายคำศัพท์ผู้เรียนต้องกำหนด
(1)       ตัวประธาน
(2)       ส่วนขยายประธาน
เมื่อหาตัวประธานได้แล้วค่อยลงมือแปลตามลำดับของคำโดยสรุปว่าการเริ่มแปลจากตัวประธานและส่วนขยาย  แต่บางครั้งการแปลแบบนี้อาจจะทำให้งานแปลออกมาแบบไม่เป็นธรรมชาติ  ตรงไปตรงมา  ซึ่งมีผลทำให้การแปลออกมาไม่น่าอ่าน
                                เทคนิคการหาตัวประธานนั้นถึงแม้ว่าส่วนของประธานจะมีหลายตัวหลายคำศัพท์  แต่ตัวประธานซึ่งอยู่ในส่วนประธานต้องมีเพียงคำเดียวในส่วนประธานการวิเคราะห์ส่วนประธาน  เราต้องบอกให้ได้ว่าประธานเป็นแบบไหน
                1  เป็นคนหรือเป็นสิ่งของ
                เป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์
                                ที่สำคัญคือตัวประธานมักจะถูกแปลเป็นอันดับแรก  ตัวประธานสามารถวางไว้ได้หลายตำแหน่งดังต่อไปนี้
                1  ส่วนประธานและตัวประธานเป็นคำถามหรือคำสรรพนามเพียงคำเดียวหมายความว่า  ส่วนประกอบและตัวประธานเป็นคำ ๆ เดียวกัน  การแปลประธานตัวเดียวถือว่าง่ายเพราะไม่มีตัวขยายมาเกี่ยวข้อง
                ส่วนประธานที่มีมากกว่าหนึ่งคำหรือตัวประธานวาง
                ใช้วลีเป็นประธานหรือประธานอยู่หน้าคำคุณศัพท์
                ใช้วลีเป็นประธานและตัวประธานอยู่หน้า  Verbs  และ  Verbing  ซึ่งจะเป็นการลดรูปมากจาก  Odjective  clause
                5  ตัวประธานและส่วนประธานมีวลีนำหน้า
                ใช้ประโยค  Noun   clause  เป็นประธาน  ซึ่งหากเรารู้ถึงการวางของตำแหน่งประโยคได้อย่างถูกต้อง  แล้วเราก็จะสามารถนำความรู้ส่วนนี้มาใช้กับการแปลได้อย่างดี
                                เทคนิคต่อไปนี้คือการกำหนดส่วนกริยา  หมายความว่าเป็นการแปลเมื่อแปลส่วนกริยา  ก่อนจะแปลส่วนกริยาเราต้องกำหนดส่วนกริยาก่อนว่ามีกี่ตัว  เป็นกริยาเอกพจน์หรือพหูพจน์  เป็นกริยาที่ประธานทำเอง  Active  voice  หรือ  กริยาที่ประธานถูกทำ  Passive  voice  และการกำหนดส่วนกริยาจะต้องอาศัยตัวประธานเป็นตัวกำหนด  และเทคนิคต่อไปนี้  คือ  การกำหนดแปลส่วนที่อยู่หลังส่วนกริยาซึ่งการแปลส่วนที่อยู่หลังส่วนกริยาจะมีวิธีแปลและมีวิธีกำหนดคล้าย ๆ กับส่วนประธานคือจะเป็นเรื่องคำนามและคำขยายเช่นกัน  แม้จะมีประโยตแทรกบ้างก็ตาม  ส่วนที่อยู่หลังกริยาจะเน้นไปยังเรื่องของลักษณะคำเป็นคำหลักและเทคนิคที่สำคัญต่อไปนี้  คือ  การกำหนดประโยคแทรกและการแปลประโยคแทรก  ประโยคแทรกคือ  ประโยคที่ทำหน้าที่ขยายความซึ่งอยู่แทรกในประโยคหลัก
                                เทคนิคการแปลจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากในงานแปล  เนื่องจากการแปลที่ปราศจากวิธีการเดินประโยคที่ดีนั้น   จะทำให้งานแปลที่แปลออกมานั้นไม่มีคุณภาพ  ไม่มีการใช้ภาษาที่สละสลวย  ไม่มีคำที่ไพเราะ  ไม่สามารถที่จะอ่านแล้วเกิดความเข้าใจในเนื้อหาหรือเนื้อเรื่องที่แปลได้  ถึงแม้ว่าการแปลนั้นจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยหรือแปลตรงตามเนื้อหาทุกประเด็กก็ตาม  ดังนั้นเทคนิคการแปลเกี่ยวกับวิธีการเดินประโยคโดยวิธีการแปลโดยไม่มีการเดินประโยคนั้นสามารถสรุปได้  ขั้นตอนดังนี้  คือ
(1)       การกำหนดหาส่วนประธาน  เพื่อหาประธานของประโยค
(2)       การรู้หน้าที่ของประธานในประโยคว่าเป็นคน  /  สัตว์  หรือสิ่งของ
(3)       การหาส่วนกริยาซึ่งการหาส่วนนี้จะเป็นการหาเพื่อดูว่าประโยคนี้มีกริยากี่ตัว  กริยาตัวใดเป็นเอกพจน์  และกริยาตัวใดเป็นพหูพจน์และทำหน้าที่ขยายอะไร
(4)       การแปลส่วนที่อยู่หลังกริยา  เพื่อดูว่าคำอะไรเป็นตัวขยาย
(5)       การกำหนดประโยคแทรกซึ่งลักษณะนี้จะอยู่ในรูปของประโยคความซ้อน

ดังนั้นขั้นตอนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับวิธีการเดินประโยคจะช่วยให้ดิฉันสามารถแปลนวนิยายได้ดีกว่าเดิม  และสามารถช่วยให้งานแปลที่ออกมานั้นมีคุณภาพมากขึ้นและเมื่อผู้อ่านได้อ่านงานแปลแล้จะทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจได้ง่ายและอ่านแล้วมีความไพเราะสนุกสนานกับการอ่านงานแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น