วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log5 (out class)

Learning Log5
(out class)
                สังคมไทยในปัจจุบันมีรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายซึ่งในเรื่องนี้จะศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบบรรยายซึ่งการเรียนการสอนแบบบรรยายมีวิธีที่ผู้เรียนนำมาใช้มากที่สุดวิธี 1 เนื่องจากการสอนแบบนี้เป็นวิธีสอนที่เน้นผู้สอนเป็นศูนย์กลางดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการนำเทคนิคการสอนแบบบรรยายโดยใช้กลุ่มร่วมมือซึ่งจะเป็นวิธีที่ใช้บรรยายสลับการจับคู่สนทนามีลักษณะเป็น เป็นกลุ่มที่จัดขึ้นชั่วคราวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
การสอนแบบบรรยายมีเป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่งของการปฏิรูปการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาคือการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพได้ มาตรฐานทำให้ผู้เรียนมีลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่ผู้สอนคาดหวังไว้มีรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมและได้รับการยอมรับในทุกระดับการศึกษาคือรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ตามแนวคิดของนักวิชาการสำคัญในอดีตหลายหลายท่านมีวิธีด้วยกันผู้สอนสามารถเลือกใช้ให้หมดสมกับธรรมชาติของผู้เรียนและธรรมชาติของเนื้อหาวิชาโดยมีแนวคิดพื้นฐานในการหลีกเลี่ยงการใช้รูปแบบการสอนที่ยึดครูเป็น ศูนย์กลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการสอนแบบบรรยายจะถูกนำมาใช้กันมากเนื่องจากหลักสูตรส่วนใหญ่มีรูปแบบที่เน้นเนื้อหาวิชาตังหากจึงดังกุศลมีแนวโน้มที่จะใช้วิธีการสอนแบบบรรยายเพื่อควบคุมสาระที่ต้องการเน้นในให้ทันภายในเวลาที่กำหนดวิธีสอนแบบบรรยายเป็นหลักทำให้เกิดปัญหาการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและปัญหาการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนแบบบรรยายให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ การเรียนการสอนแบบบรรยายเป็นวิธีการสอนที่ผู้สอนนำเสนอข้อเท็จจริงที่จะเอาไว้อย่างเป็นระบบเป็นการสอนที่ครูเป็นศูนย์กลางของการสื่อสารและความสนใจในห้องเรียนการสอนแบบบรรยายนั้นจะมีทั้งพอดีและข้อเสีย

การสอนแบบบรรยายคือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้เวียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยการเตรียมเนื้อหาสาระและบรรยายคือพูดบอกเล่าอธิบายเนื้อหาสาระหรือสิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียนให้ผู้เรียนซักถามและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งการบรรยายเป็นวิธีถ่ายทอดความรู้ที่ใช้กันมานานในการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาซึ่งเนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวกสามารถ โซนหรือบรรยายให้ผู้ฟังได้ทีละมากๆโดยทั่วไปจะใช้ในกรณีที่ต้องการนำเสนอความรู้ครั้งละมากๆโดยใช้เวลาไม่มากนักจึงจัดเป็นวิธีการสอนที่ประหยัดเวลาในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีวิธีนี้จะเหมาะสมมากหาผู้บรรยายมีความเชื่อฉันมีประสบการณ์มีความรู้ในเนื้อหานั้นเป็นพิเศษและต้องการให้ผู้ฟังได้คำอธิบายขยายความหรือแนวคิดที่แปลกใหม่เป็นข้อมูลที่หาอ่านจาก เอกสารทั่วไปได้
โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1 เพื่อให้ผู้เรียนมีจำนวนมากได้เรียนเนื้อหาความรู้ที่มีจำนวนมากในเวลาที่จำกัด 2 เพื่อให้ความรู้ประสบการณ์ใหม่เก็บผู้เรียนซึ่งค้นหายากหรือเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้สอนเอง 3 เพื่อช่วยนำทางในการศึกษาด้วยตนเองและ4 เพื่อช่วยสรุปประเด็นสำคัญส่วนองค์ประกอบของการสอนคลื่น 1 มีเนื้อหาสาระหรือความรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทรงมีการบรรยายพูดบอกเล่าหรืออธิบายเนื้อหาต่างๆและมีการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการบรรยาย
                ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบบรรยาย
1. เป็นการสอนที่เน้นเนื้อหาสาระที่นำเสนอโดยครูผู้สอน ผู้บรรยายจะเสนอปัญหาวิธีการ
ต่างๆในการแก้ปัญหา และสรุปด้วยว่าวิธีการใดเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดตามหลักการ
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้หลายๆแนวคิดก่อนที่จะสรุปเป็นข้อคิดหรือทางเลือกที่เหมาะสม
ขั้นตอนการสอน
1.        ขั้นเตรียมการสอน ประกอบด้วย
1.1     วินิจฉัยผู้เรียน โดยพิจารณาถึงพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์เดิม ความสามารถของผู้เรียน อาจใช้วิธีพูดคุย ซักถาม หรือแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการเตรียมเนื้อหาและวิธีการสอน
1.2     เตรียมเนื้อหา โดยพิจารณาถึงความละเอียด ลึกซึ้ง มากน้อย และตามลำดับของเนื้อหา ให้เหมาะสมกับเวลาและลักษณะของผู้เรียน
1.3     เตรียมคำถาม เพื่อใช้ถามผู้เรียนระหว่างการบรรยาย จะช่วยให้ผู้เรียนตื่นตัวและสนใจได้ดีขึ้น
1.4     เตรียมสื่อการเรียนการสอน โดยเตรียมสื่อให้พร้อมอยู่ในสภาพใช้การได้ดี อาจเป็น สไลด์ แผ่นใส ภาพ ฯลฯจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น
1.5     ขั้นเตรียมการวัดและประเมินผล อาจจัดทำเป็นการทดสอบหลังเรียน เพื่อวัดดูว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ หรือมากน้อยเพียงไร
2.        ขั้นสอน ประกอบด้วย
2.1 ขั้นนำ อาจใช้วิธี
1)       ซักถามพูดคุยกับผู้เรียน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเรียน
2)       ทบทวนการบรรยายในครั้งก่อนเพื่อเชื่อมโยงกับเรื่องใหม่
1.2     ขั้นอธิบาย เป็นขั้นสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน ผู้สอนควรได้ดำเนินการ ดังนี้
1)       บอกโครงเรื่อง เครือข่ายของเนื้อหา และแจ้งจุดประสงค์ของบทเรียน
2)       อธิบายให้ชัดเจนตามลำดับเนื้อหาอย่างต่อเนื่องกัน
3)       สังเกตปฏิกิริยาตลอดเวลาเพื่อการย้ำหรือหยุดทบทวนใหม่
4)       ถามคำถามในบางตอนเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
5)       ยกตัวอย่างประกอบ เพื่อเพิ่มความแจ่มแจ้งในบทเรียน
6)       ใช้น้ำเสียง บุคลิกภาพ ท่าทีการพูดอธิบาย การใช้ภาษา อารมณ์ขันที่เหมาะสม
1.3     ขั้นสรุป เป็นการปิดท้ายชั่วโมงการบรรยาย อาจใช้วิธี
1)       สรุปโยงเนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบ
2)       ตั้งปัญหาให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์
3)       ฝากปัญหาให้ผู้เรียนไปคิดต่อ
4)       เปิดโอกาสให้ผู้เรียนไดซักถามปัญหา
5)       มอบหมายงายให้ผู้เรียนไปค้นคว้าต่อเพิ่มเติม
6)       บอกล่วงหน้าถึงเนื้อหาที่จะเรียนในครั้งต่อไป
3. ขั้นติดตามผล ประกอบด้วย
3.1วัดและประเมินผลผู้เรียน โดยอาจใช้วิธี
1)       ตรวจสมุดบันทึกที่ผู้เรียนจดบรรยาย
2)       ถามคำถามในเนื้อหาที่บรรยาย
3)       ให้ทำข้อสอบหรือแบบฝึกหัดเพิ่มเติม
3.2วัดผล ประเมินผลผู้สอน โดยอาจใช้วิธี
1)       จัดทำแบบสอบถามให้ผู้เรียนได้ทราบความคิดเห็น เกี่ยวกับวิธีการสอน การอธิบาย การใช้น้ำเสียง บุคลิกท่าทาง
2)       ให้เพื่อนครูได้เข้าสังเกตการณ์สอน แล้วให้ข้อเสนอแนะเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการสอน
3)       บันทึกการบันยายของตนแล้วนำไปพิจารณา ประเมิน
ข้อดีของการสอนแบบบรรยาย
1. ประหยัดเวลา เพราะสามารถใช้กับผู้เรียนได้จำนวนมาก
2. ผู้สอนสามารถนำความรู้ที่เป็นจุดเด่นจากตำราหลายๆ เล่มมาประมวล บูรณาการไว้ด้วยกันในการบรรยาย
3. สำหรับเนื้อหายุ่งยากและซับซ้อน ผู้เรียนได้ฟังบรรยายแล้วจะเข้าใจง่ายกว่าไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งต้องใช้เวลานานมากกว่า และอาจไม่เข้าใจ
4. ผู้เรียนได้ฟังความคิดเห็นหรือข้อชี้แนะจากผู้สอนที่มีความรู้และประสบการณ์มากกว่าทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะเรียนดีขึ้น
5. ดำเนินการสอนได้รวดเร็ว
6. ผู้เรียนไม่ต้องทำงานมาก รับรู้เรื่องราวได้โดยตรง
7. เหมาะสมกับเนื้อหาที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน
8. ฟังการบรรยายก็เข้าใจง่ายกว่าค้นหาเอง
ข้อเสียของการสอนแบบบรรยาย
1. ถ้าใช้บ่อยๆ โดยไม่พิจารณาความเหมาะสม อาจทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย เพราะผู้เรียนมีส่วนร่วมใน    กิจกรรมการเรียนการสอนด้วย
2. ไม่เอื้อต่อการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ซึ่งเป็นความสามารถทางปัญญาชั้นสูง
3. ไม่ค่อยเกิดการพัฒนาด้านเจตคติและทักษะพิสัย
4. เป็นการสอนที่เน้นครูหรือผู้สอนเป็นศูนย์กลาง
5. ความรู้ที่ได้รับจากการฟังเพียงอย่างเดียวอาจลืมง่าย เป็นความทรงจำที่ไม่ถาวร
6. ผู้สอนต้องรู้จักการสร้างบรรยากาศด้วยวาทศิลป์ เพื่อมิให้ผู้ฟังสูญเสียความสนใจ
7. ครูควรแสดงท่าทางประกอบการเคลื่อนไหวบ้างพอสมควรอย่าให้มากเกินไป
8. ครูควรบรรยายจากข้อมูลไปหาข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาทางด้านความคิดเป็นอย่างมาก
9. ควรมีการซักถามเด็กบ้างระหว่างที่บรรยายเช่น ให้ช่วยออกความคิดเห็นต่างๆ เป็นต้น
10. เสียงดังชัดเจนมีการเน้นสูงต่ำเป็นจังหวะ
11. ใช้ภาษาและคำพูดง่ายๆ ให้เด็กฟังแล้วเข้าใจ
12. ครูควรใช้รูปภาพหรือวัสดุอื่นประกอบคำอธิบาย
13. เป็นวิธีการสอนผู้เรียนมีบทบาทน้อยจึงทำให้ผู้เรียนขาดความสนใจในการบรรยาย
14. เป็นวิธีการสอนที่ไม่สามารถสนองตอบความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล

                จากบทความเรื่องการสอนแบบบรรยายจนสรุปได้ว่าเทคนิคการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้นมีหลายวิธีแต่จะสรุปเกี่ยวกับการสอนแบบบรรยายนั้นโดยทั่วไปแล้วเป็นวิธีที่มีการยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลางคือผู้สอนเป็นผู้บอกความรู้ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้วิธีสอนแบบนี้เทคนิคการสอนแบบบรรยายโดยใช้กลุ่มร่วมมือซื้อให้ความสำคัญต่อผู้เรียนน่าจะเป็นทางเลือก 1 ที่มีคุณค่าต่อกุศลในทุก ระดับการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเป้าหมายของสถานศึกษาและผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการบรรยายนั้นนำไปประยุกต์ใช้ในการเขียนงานภาษาอังกฤษต่างๆในชีวิตประจำวันได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น